ไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไฮโดรโปนิกส์ คือ
ที่มาของ ไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์ (อังกฤษHydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน

ประวัติ[แก้]

นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนในน้ำ ซึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับน้ำ รากของพืชก็จะสามารถช่วยตัวดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีกต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น นั่นคือสารอาหารสำหรับพืชที่ละลายอยู่ในน้ำแล้ว

ประโยชน์[แก้]

ไฮโดรโปนิกส์นั้นมีประโยชน์หลักๆ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืช แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมาก ประการที่สองก็คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อมและสภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรได้มากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดิน จึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช และไม่ต้องจัดการดิน และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้ ด้วยเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิม ขณะที่ใช้พื้นที่จำกัด นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำน้อยมาก เพราะมีการใช้ภาชนะหรือระบบวนน้ำแบบปิด เพื่อหมุนเวียนน้ำ เมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้น้ำเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น
ด้วยคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ไฮโดรโปนิกส์มีประโยชน์กับการปลูกพืชที่ไม้ใช่วิธีการแบบเดิมๆ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ได้เสนอมานานแล้วว่า ไฮโดรโปนิกส์จะทำให้สถานีอวกาศ หรือยานอวกาศ สามารถปลูกพืชไร้ดินได้เอง และคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ไฮโดรโปนิกส์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชโดยการการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และมีความหนาแน่นสูงสุด

เทคนิค[แก้]

มีการใช้เทคนิคต่างๆ มากมายในการปลูกพืชแบบไร้ดิน บ้างก็ใช้วัสดุจำพวกโลหะเฉื่อย เป็นตัวค้ำยันรากของพืช บ้างก็ใช้วัสดุแบบอื่นๆ โดยให้สารละลายที่มีสารอาหารโดยตรงแก่รากด้วยวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย

ข้อเสีย[แก้]

ใช้เงินในปริมาณมาก พืชบางชนิดปรับตัวช้า


ไฮโดรโปนิกส์

  

ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 45 วันเก็บเกี่ยว






1.    การเตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูก 
ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุดไฮโดรโปนิกส์  และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 
6 ชั่วโมง/วัน










2.      พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก  เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือ 
2.1  เคลือบดินเหนียว  เนื่องจากเมล็ดผักมีขนาดเล็ก  ทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย  จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว  
เมล็ดที่เคลือบจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น  เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว  แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน
2.2    ไม่เคลือบ  คือเมล็ดพันธุ์ปกติ













3.    การเพาะต้นกล้า 
นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย  กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย  
รดน้ำทุกวัน  ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก  และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
4.      การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร 
4.1  ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร  และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี  หรือ 10 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร 
4.2  นำต้นกล้าที่แข็งแรง  อายุประมาณ 2 สัปดาห์  ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก  และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
5.      การดูแลประจำวัน
5.1    รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร
5.2  ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8  โดยเครื่อง EC meter  ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ  และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย 
 กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง
5.3  ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8  โดยเครื่อง pH meter  หรือ pH Drop  test ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก  
หรือกรดไนตริก (pH down)  และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
6.      การเก็บเกี่ยว  เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน







คู่มือการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ของ H2O ไฮโดรการ์เด้น
วิธีเพาะกล้าผักไฮโดรโปนิกส์
1.        ผสม vermiculite 1 ส่วน กับ perlit 6 ส่วน ในกล่องผสม เขย่าให้เข้ากัน
2.        สวมผ้ากันฝุ่น แล้วจึงเปิดฝากล่องผสม แล้วใช้ถ้วยตวง 1 ลิตร ตักวัสดุปลูกลงในถ้วยปลูก ให้ได้ความสูง 2/3ของถ้วยปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
3.        เขย่าถาดปลูกให้วัสดุปลูกแน่น และเติม หรือตักออก จนได้ระดับทุกถ้วย
4.        หยอดเมล็ดผักลงตรงกลางถ้วยปลูก จนครบทุกถ้วย
5.        เขย่าถาดปลูก โดยสังเกตให้เมล็ดผักส่วนใหญ่จมลงแค่ผิววัสดุปลูก
6.        ตรวจดู และใช้ปลายไม้แหลมกดบางเมล็ดที่ยังลอยอยู่ ให้จมลงในระดับแค่ผิวของวัสดุปลูก
7.        ยกถาดไปวางบริเวณที่วางถาดปลูก ใต้รางอนุบาล เวลายกต้องใช้ความระมัดระวัง อย่าให้เกิดการกระแทก  จะทำให้เมล็ดเปลี่ยนตำแหน่งได้
8.        ใช้หัวฉีดหมอกฉีดน้ำให้เป็นละอองฝอย ตกลงบนถ้วยปลูกจนชุ่ม โดยสังเกตหยดน้ำที่เกิดขึ้นบริเวณของถ้วย ว่ามีจำนวนมากพอ
วิธีดูแลกล้าผักไฮโดรโปนิกส์
1.        ระยะ 3-5 วันแรกให้สังเกตหยดน้ำที่เกิดขึ้นจากการพ่นหมอกที่แปลงอนุบาล เช้า-เย็น ถ้าหยดน้ำบริเวณของถ้วยมีจำนวนเพียงพอ 
ไม่ต้องใช้สายยางฉีดอีก ถ้าสังเกตเห็นว่า มีบางบริเวณไม่มีน้ำหยด หรือหยดน้ำน้อย จึงใช้สายยางฉีดน้ำเสริม ควรสังเกตหยดน้ำหลังการพ่นหมอกใหม่ๆ
2.        ประมาณวันที่ 5 ผักไฮโดรโปนิกส์ของเราจะมีใบเลี้ยง 2 ใบ และใช้อาหารในเมล็ดหมดแล้ว ให้หยอดปุ๋ย โดยใช้น้ำปุ๋ยจากถังอนุบาล
ส่วนผสมกับน้ำ 1 ส่วนแล้วหยอดทีละถ้วย ระวังอย่าให้โดนใบผัก ให้หยอดปุ๋ยวันละครั้ง ตอนเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
3.        ต้นกล้าสามารถย้ายขึ้นรางอนุบาล 1 ได้ตั้งแต่ 7 วัน- 14 วัน เมื่อรางว่าง
วิธีดูแลผักไฮโดรโปนิกส์แปลงอนุบาล 1
1.        เมื่อย้ายผักไฮโดรโปนิกส์จากที่วางถาดมาอยู่บนอนุบาล 1 ให้ตรวจดูว่ามีน้ำปุ๋ยไหลทุกราง โดยดูที่สายยางทางเข้าหรือดูที่น้ำไหลในรางโดยตรง 
ถ้าพบว่าไม่มีน้ำ หรือน้ำน้อยกว่าปกติต้องรีบแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ต้องโทรปรึกษาทันที เพราะปล่อยทิ้งไว้ผักจะตายได้
2.        ผักจะอยู่บนแปลงอนุบาล 1 นี้  14 วัน ผักจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของพุ่มประมาณ 5 ซม.จึงย้ายไปแปลงอนุบาล 2
วิธีดูแลผักไฮโดรโปนิกส์แปลงอนุบาล 2
1.        ดูแลแปลงเหมือนแปลงอนุบาล 1
2.        ผักไฮโดรโปนิกส์จะอยู่บนแปลงอนุบาล 2 นี้ 14 วัน ผักจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของพุ่มประมาณ 10 ซม จึงย้ายไปแปลงปลูก
3.        คอยสังเกตและกำจัดแมลงต่างๆบนแปลงอนุบาล 1 & 2 เช่น มด เพี้ย ด้วยการฆ่าหรือจับออก หรือฉีดไล่ด้วยสารชีวภาพ ตามที่กำหนดให้ 
ถ้าเห็นมีมากผิดปกติหรือพืชเป็นโรค ต้องรายงานทันที
4.        แปลงอนุบาล 1&2 ควรล้างทุกรอบการปลูก 14 วัน ส่วนการเปลี่ยนน้ำปุ๋ย ควรเปลี่ยนทุกรอบการปลูก 14 วัน 
ดังนั้นการล้างในครั้งที่ไม่เปลี่ยนน้ำต้องปิดปั๊ม และถอดท่อระบายน้ำกลับถังออกทุกครั้งด้วย เพื่อไม่ให้น้ำจากการล้างเข้าถังปุ๋ย 
เมื่อล้างเสร็จจึงต่อกลับก่อนเดินปั๊ม
วิธีดูแลผักไฮโดรโปนิกส์บนแปลงปลูก
1.        ควรย้ายผักที่ชอบแดดไว้รางบน ซึ่งได้แก่ RO,GO,และ RB  ตามลำดับ ส่วนผักควรอยู่แปลงล่างคือ BH, GC (ส่วน COS, RC และผักอื่นๆ
 สามารถอยู่ได้ทั้งรางล่างและรางบน)
2.        ข้อควรระวังในการย้ายผักไฮโดรโปนิกส์ไปที่ท่อปลูก Ø  ɸ3และ  Ø ɸ4 ต้องให้รากมีจำนวนมาก และยาวกว่า 3 ซม. จึงย้ายได้ 
เพราะรากจะได้ถึงน้ำ ส่วนรางที่เป็นแบบรางแบน จะมีราก หรือไม่มีก็ย้ายได้ ดังนั้นจึงควรเลือกต้นที่รากไม่สมบูรณ์ไปอยู่ที่รางแบน
3.        ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าทุกรางมีน้ำไหลปริมาณมากพอ กล่าวคือ สายยางทั้งสองสาย มีน้ำไหลเต็มที่และมีอัตราการไหลรวมมากกว่า 1.5 ลิตรต่อนาที
 สำหรับรางล่าง และมากกว่า 2 ลิตรต่อนาที สำหรับรางบน
4.        คอยสังเกต และกำจัดแมลงต่างๆ เช่น มด เพี้ย ด้วยการฆ่าหรือจับออก หรือฉีดไล่ด้วยสารชีวภาพตามที่กำหนดให้ ถ้าเห็นผิดปกติหรือ
พืชเป็นโรคต้องโทรรายงานทันที
5.        ผักจะอยู่บนแปลงปลูกนี้ 7 วัน ต้นที่สมบูรณ์จะมีน้ำหนักเกินกว่า 100 กรัม (10 ต้น / กิโล) ให้เริ่มขายได้ และถ้าอยู่บนแปลงนี้ 14วัน 
ต้นที่สมบูรณ์ จะมีน้ำหนักถึง 200 กรัม ( 5 ต้น / กิโล) ดังนั้นควรเก็บขายในช่วงนี้เพื่อให้ได้น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้น 143 กรัม (7 ต้น / กิโล)
6.        ควรเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ขาย 2 ครั้งให้หมดทั้งแถว เพื่อสามารถล้างรางปลูกได้เป็นแถวๆ ไป วิธีนี้จะสะดวกในการทำงาน 
และสามารถปิดการพ่นน้ำ ตากรางได้ (ตอนตากรางให้คว่ำรางแต่ไม่ต้องถอดสายน้ำเข้าออก) ถ้าไม่สามารถล้างทั้งแถวได้ต้องถอดสายน้ำเข้าเป็นรางๆไป 
แล้วล้างรางที่ไม่มีต้นไม้ก่อน วิธีนี้เมื่อล้างเสร็จต้องคว่ำรางกันน้ำเข้าไปขัง และเกิดตะไคร้น้ำ และเป็นการตากรางให้แห้งฆ่าเชื้อโรคด้วย
7.        การล้างควรทำทุกการปลูก 1 รอบ (15 วัน) พร้อมกับการเปลี่ยนน้ำปุ๋ยด้วย (สำหรับรางสีฟ้าอาจจะเปลี่ยนทุก 2 รอบก็ได้ 
เพราะมีจำนวนน้ำปุ๋ยในระบบมากกว่า)
วิธีควบคุมปุ๋ย C และปุ๋ย A&B แปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ค่า pH
·         ต้องการควบคุมค่า pH ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส?ให้คงที่ตลอดเวลาที่ 6.0 โดยใช้เครื่องวัดค่า pH (สีแดง) วัดแล้วเติมปุ๋ย
อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง เช้า (6.00 น) กลางวัน (13.00 น) และเย็น (20.00 น)
                         pH                                   เติมปุ๋ย C (cc)
                         8.0                                           600
                         7.5                                           450
                         7.0                                           300
                         6.5                                           150
                         6.0                                               0
หมายเหตุ  เนื่องจากไม่มีผู้ดูแลตอนกลางวัน ตอนที่เติมปุ๋ย C ตอนเช้าจะเติมปุ๋ย C ไว้ในถุงน้ำเกลือให้ค่อยๆ หยดตลอดวัน โดยจะใส่ปุ๋ย C
 เท่ากับจำนวนปุ๋ย C ที่เติมตอนช่วงเย็น แล้วเติมน้ำให้เต็มถุงน้ำเกลือ แล้วตั้งให้หยด 10 หยดต่อนาที   (น้ำเกลือจะหมดถุงใน 8 ชั่วโมง) 
ดังนั้นต้องจดไว้ว่าตอนเย็นเติมไว้ที่กี่ cc
ค่า EC
·         ต้องการควบคุมค่า EC ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้คงที่ตลอดเวลาที่  1.7 โดยใช้เครื่องวัด EC (สีฟ้า) วัดแล้วเติมปุ๋ยA&B 
อย่างน้อยวันละ   2 ครั้งเช้า (6.00 น) และเย็น (20.00 น)ดังนี้
                            EC                              เติม A&B (cc)
                           1.3                                       600
                           1.4                                       450
                           1.5                                       300
                           1.6                                       150
                           1.7                                           0
·         ก่อนเติมปุ๋ย C และ A&B ควรตรวจระดับน้ำในถังล่างของแปลงปลูกว่าอยู่ที่ระดับ 1/2 – 2/3 ถัง โดยทำดังนี้ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า 1/2
ถังให้เติมน้ำให้ได้ 1/2 ถังถ้าระดับน้ำสูงกว่า 2/3ถัง ให้ตักน้ำออกไปรดน้ำต้นไม้ก่อน ให้น้ำมาอยู่ที่ระดับ 2/3ถังแล้วจึงเติมปุ๋ย C และ A&B
·         ปล่อยให้ระบบเดินไปประมาณ 30 นาทีแล้วจึงวัด และเติมอีกครั้ง จนได้ค่าที่ต้องการ
·         ถ้าระดับน้ำลดลงผิดสังเกต ควรตรวจดูรอยรั่วและแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที
·         ถ้าระดับน้ำเพิ่มขึ้นผิดสังเกต ควรหาสาเหตุ อาจจะเป็นระบบพ่นหมอกทำงานผิดปกติ ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที
·         การเติมปุ๋ย C ให้เติมกระจาย ครึ่งหนึ่งที่ถังล่างของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และอีกครึ่งหนึ่งที่ถังบน เพื่อให้ pH 
ไม่ลดลงอย่างมากในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผัก
·         การเติมปุ๋ย A&B ให้เติมปุ๋ย A ที่ถังบน และเติมปุ๋ย B ที่ถังล่างของแปลงปลูก เพื่อไม่ให้ปุ๋ย A&B ที่เข้มข้นทำปฏิกิริยากันตกตะกอน
วิธีควบคุมปุ๋ย C และปุ๋ย A&B แปลงอนุบาลผักไฮโดรโปนิกส์ ค่า pH
1. ต้องการควบคุมค่า pH ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้คงที่ตลอดเวลาที่ 6.0 โดยใช้เครื่องวัด pH (สีแดง) วัดแล้วเติมปุ๋ย C
อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง  เช้า (6.00 น) กลางวัน (13.00 น) และเย็น (20.00 น)
                      ค่า pH                                เติมปุ๋ย C (cc)
                        8.0                                           120
                        7.5                                             90
                        7.0                                             60
                        6.5                                             30
                        6.0                                               0
หมายเหตุ เนื่องจากไม่มีผู้ดูแลตอนกลางวัน ตอนที่เติมปุ๋ย C ตอนเช้าจะเติมปุ๋ย C ไว้ในถุงน้ำเกลือให้ค่อยๆหยดตลอดวัน โดยจะใส่ปุ๋ย
เท่ากับจำนวนปุ๋ย C ที่เติมตอนช่วงเย็น แล้วเติมน้ำให้เต็มถุงน้ำเกลือแล้วตั้งให้หยด 10 หยดต่อนาที (น้ำเกลือจะหมดถุงภายใน 8 ชั่วโมง) 
ดังนั้นต้องจดไว้ว่าตอนเย็นเติมไว้กี่ cc
ค่า EC
2. ต้องการควบคุม ค่า EC ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้คงที่ตลอดเวลาที่ 1.3 โดยใช้เครื่องวัด EC (สีฟ้า) วัดแล้วเติมปุ๋ยA&B 
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า (6.00น), เย็น (20.00 น.)
                        EC                              เติม A&B (CC)
                       0.9                                        120
                       1.0                                          90
                       1.1                                          60
                       1.2                                          30
                       1.3                                            0

3.  ก่อนเติมปุ๋ย C และ A&B ควรตรวจระดับน้ำในถังล่างของแปลงอนุบาลว่าอยู่ที่ระดับ 1/2– 2/3  ถัง โดยทำดังนี้
ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า 1/2ถังให้เติมน้ำให้ได้ 1/2 ถัง
ถ้าระดับน้ำสูงกว่า 2/3ถัง ให้ตักน้ำออกไปลดน้ำต้นไม้ก่อน ให้น้ำมาอยู่ที่ระดับ 2/3ถัง
แล้วจึงเติมปุ๋ย C และ A&B
4. ปล่อยให้ระบบเดินไปประมาณ 15 นาทีแล้วจึงวัดและเติมอีกครั้ง จนได้ค่าที่ต้องการ
5. ถ้าระดับน้ำลดลงผิดสังเกต ควรตรวจดูรอยรั่วและแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที
6. ถ้าระดับน้ำเพิ่มขึ้นผิดสังเกต ควรหาสาเหตุ อาจจะเป็นระบบพ่นหมอกทำงานผิดปกติ ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที
7. การเติมปุ๋ย C  ให้เติมกระจาย ครึ่งหนึ่งที่ถังล่างของแปลงอนุบาล  เพื่อให้ pH ไม่ลดลงอย่างมากในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผักไฮโดรโปนิกส์
8. การเติมปุ๋ย A&B   ให้เติมปุ๋ย A ที่ถังบน และเติมปุ๋ย B ที่ถังล่างของแลปงอนุบาล เพื่อไม่ให้ปุ๋ย A&B ที่เข้มข้นทำปฏิกิริยากันตกตะกอน
วิธีควบคุมการพ่นหมอกแปลงปลุกผักไฮโดรโปนิกส์
1.        ตอนกลางวัน ควบคุมด้วยอุณหภูมิ เมื่อร้อนเกิน 30° C จะพ่น และเมื่อเย็นลงจะหยุดพ่น
2.        ตอนกลางคืน ตั้งเวลาพ่น 50 นาที พ่น 1 นาที ถ้าอากาศเย็น อาจจะตั้งห่างขึ้น
3.        ถ้าการพ่นผิดปกติ ต้องรายงานทันที อย่าปรับระบบเอง   ต้องปรับตามคำแนะนำโดยละเอียดจาก คนที่เข้าใจระบบควบคุมซึ่งสามารถ
สั่งการทางโทรศัพท์ได้
4.        ถ้าท่อน้ำระบบพ่นหมอกรั่ว ขาด ต้องแก้ไขทันที ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงาน ขอความช่วยเหลือทันที
วิธีดูแลระบบพ่นหมอกแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1.        ต้องดูแลให้ทุกหัว พ่นได้ดีเป็นละอองขนาดเล็กฟุ้งกระจาย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกโดยทั่วถึง โดยการตั้งทิศทางหัวพ่น 
ทำความสะอาดหัวพ่นและเปลี่ยนหัวพ่น แล้วแต่กรณี
2.        ไม่มีน้ำรั่ว หยด เพราะสิ้นเปลืองถ้าพบน้ำรั่ว หรือหยดต้องแก้ไข หรือรายงานทันที
3.        ในบางครั้งหัวพ่นหมอกบริเวณหัวรับสัญญาณไม่โดนหมอก แก้ไขชั่วคราว โดยการใช้น้ำประปาฉีด บริเวณหัวรับสัญญาณจะเกิดขึ้นเป็นบางครั้งคราว
  เนื่องจากทิศทางลม แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งควรแก้ไขโดย
4.        ย้ายผักที่บังหัวรับสัญญาณออกหรือเปลี่ยนเป็นต้นเล็กลง
5.        ปรับเปลี่ยนผ้าคลุมหัวรับสัญญาณให้เหมาะสม โดยผู้ที่มีความเข้าใจในระบบควบคุม
6.        เปลี่ยนตำแหน่งหัวรับสัญญาณให้เหมาะสม โดยผู้ที่มีความเข้าใจในระบบควบคุม
7.        วิธีดังกล่าว นอกจากประหยัดน้ำแล้ว ต้นผักยังได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้ผักไฮโดรโปนิกส์เติบโตเร็วและแข็งแรง
8.        ต้องตรวจและล่างไส้กรองระบบพ่นหมอกอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือเมื่อพบว่าการพ่นน้อยลง
วิธีดูแล ระบบน้ำปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1.        ปั๊มน้ำทุกตัวต้องทำงาน ทำงานตลอดเวลา (ยกเว้นระบบที่กำลังล้างทำความสะอาดอยู่) เพราะถ้าผักขาดน้ำ ผักจะเหี่ยว และตายใน 3 ชั่วโมง 
ดังนั้น ถ้าสังเกตเห็นต้นไม้เหี่ยว หรือปั๊มน้ำหยุดเดิน หรือไฟดับ ต้องรีบแก้ไข และถ้าแก้ไขไม่ได้ต้องขอความช่วยเหลือทันที ถ้าน้ำไม่ไหลหาจุด
อาจจะเป็นเพราะการตีบตัน หรือมีสิ่งสกปรกอุดตันต้องแก้ไข และขอความช่วยเหลือทันที ถ้าทำไม่สำเร็จ
2.        ถ้าระบบน้ำปุ๋ยหยุดทำงาน แต่ระบบพ่นหมอกยังทำงานอยู่ควรตั้งระบบพ่นหมอก ต้นผักอาจจะทนอยู่ได้นานถึง 6 ชั่งโมง วิธีแก้ไขเบื้องต้น 
คือ เปิดให้เครื่องพ่นหมอกพ่นหมอกให้ถี่ขึ้นหรือตลอดเวลา เพื่อชดเชย จะทำให้ต้นผักไฮโดรโปนิกส์พ้นอันตรายได้
3.        ถ้าระบบพ่นหมอกเสียด้วย ต้องนำน้ำมารดผักด้วยวิธีกรอกน้ำที่หัวราง หรือใช้ฝักบัวรดที่ต้นในระหว่างทำการแก้ไข
4.        ถ้ารู้ว่าจะต้องแก้ไขนานให้หาวัสดุมารองท้ายรางให้เสมอกับหัวราง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ราง Ø 4 ” สีฟ้า ไม่ต้องทำอะไร
 เพราะเป็นระบบที่มีน้ำขังในระบบอยู่ตลอดเวลาราง Ø 3 ” สีขาว ระดับหัว และท้ายรางมีระดับต่างกัน 5 ซม. ดังนั้น ถ้าหาวัสดุมารองด้านน้ำออกท้ายราง
สูงขึ้น 8 ซม. ก็จะมีน้ำขังตลอดท่อ ต้นไม้ก็จะได้น้ำตลอดเวลารางสี่เหลี่ยมสีขาว และรางอนุบาล ต้องใช้วิธีรดน้ำตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 3 ได้อย่างเดียว 
เพราะระดับต่างกันถึง 30 ซม.แก้ไขด้วยวิธีรองท้ายรางไม่สามารถทำได้
5.        ต้องถอดไส้กรองปั๊มน้ำออกมาล้างทุกอาทิตย์ โดยช่วงหลังจากที่มีการขาย และย้ายผักทุกครั้งต้องถอดไส้กรองปั๊มมาล้างเพิ่มเติม
 เพราะจะมีเศษรากและตะไคร่ หลุดเข้าระบบมากกว่าปกติ ถ้าพบว่าสิ่งสกปรกมีมากหรือพบว่าน้ำไหลน้อยลงอาจจะต้องพิจารณาล้างบ่อยขึ้น
6.        ถังที่มีแดดส่องถึง ควรใช้แผ่นไม้อัดหุ้มพลาสติกที่เตรียมไว้ปิดตลอดเวลาเพื่อลดการเกิดตะไคร่
7.        สำหรับแปลงปลูกที่มีถังระบายความร้อน ต้องตรวจดูว่าทำงานปกติหรือไม่ (พัดลมเปิดตลอดเวลาและมีการกระจายของน้ำที่ตกลงมาในถังดี
 ไม่มีน้ำล้นผิดปกติ) ต้องทำความสะอาดรูท่อกระจายน้ำทุกวัน โดยการเปิดฝาครอบท่อออก แล้วใช้ไม้ทำความสะอาดที่เตรียมไว้ทะลวง
 จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เสียน้ำปุ๋ยไปมาก

ขอบคุณข้อมูล http://www.careandliving.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น