วิธีการเพาะเมล็ดและอนุบาลต้นกล้า
เมล็ดพันธุ์ผักที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เมล็ดแบบไม่เคลือบ
เมล็ดประเภทนี้จะผ่านการลดความชื้นมาแล้ว สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นได้นาน ประมาณ 1 - 2 ปี และมีราคาถูกกว่าเมล็ดแบบเคลือบค่อนข้างมาก การเพาะเมล็ดแบบไม่เคลือบนี้แนะนำให้กระตุ้นการงอกโดยใช้กล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท รองด้านในด้วยกระดาษชำระประมาณ 2 ชั้นแล้วพรมน้ำให้กระดาษเปียก และเทน้ำออก จากนั้นให้นำเมล็ดสลัดมาโรยลงบนกระดาษชำระ โดยไม่ต้องพรมน้ำซ้ำ แล้วปิดฝากล่องให้สนิท (แนะนำให้นำไปวางไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ห้องปรับอากาศ) ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมงเมล็ดจะเริ่มงอกให้ย้ายลงวัสดุปลูกได้เลยครับ อย่าปล่อยให้เกิน 72 ชั่วโมง (3 วัน) เพราะรากผักสลัดจะยาวเร็วมากและทำให้ย้ายปลูกได้ยาก การกระตุ้นการงอกด้วยวิธีนี้จะทำให้เมล็ดที่เราเพาะมีเปอร์เซ็นต์การงอกและความสม่ำเสมอของการงอกสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่จะเข้าทำลายเมล็ดจากการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรง ให้ผักที่ปลูกมีความสม่ำเสมอของต้นที่เท่ากัน มากกว่าการเพาะลงในวัสดุปลูกโดยตรง เนื่องจากการเพาะลงวัสดุปลูกโดยตรงนั้นเมล็ดสลัดมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลง อีกทั้งผู้ปลูกยังควบคุมปัจจัยการงอกของเมล็ดได้ยากกว่าด้วย
เมล็ดชนิดนี้จะถูกคัดเลือกมาจากเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนำมาเคลือบด้วยแป้งหรือดินเหนียว (Pelleted seed) เพื่อเป็นการรักษาสภาพของเมล็ดเอาไว้ ข้อดีของการใช้เมล็ดแบบเคลือบก็คือ สะดวกในการเพาะเมล็ดเนื่องจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น วัสดุที่หุ้มเมล็ดยังช่วยนำพาความชื้นสู่เมล็ดได้อย่างทั่วถึงทั้งเมล็ด ทำให้ผู้ปลูกสามารถเพาะลงวัสดุปลูกได้โดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยการงอกที่ไม่สม่ำเสมอของการเพาะเมล็ดลงได้ ส่วนข้อเสียของเมล็ดแบบเคลือบนี้คือ มีราคาแพง และมักพบปัญหาเมล็ดเสื่อมสภาพเร็วหากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี (ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นตลอดเวลา 4 - 7 องศาเซลเซียส) การเพาะเมล็ดแบบเคลือบหากฝังเมล็ดในวัสดุปลูกลึกเกินไปก็ทำให้เมล็ดเน่า หรือถ้าหากตื้นเกินไปก็ทำให้เมล็ดได้ความชื้นไม่เพียงพอก็ทำให้ไม่งอกเช่นกัน สำหรับเมล็ดแบบเคลือบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ลูกผสม หรือ Hybrid F1 ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพและผลผลิตสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมเพื่อให้ได้ตรงกับความต้องการของตลาด ด้วยต้นทุนการผลิตเมล็ดเคลือบที่สูงทำให้เมล็ดแบบเคลือบนี้มีชนิดและสายพันธุ์ของผักสลัดให้เลือกค่อนข้างน้อย
สรุป การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด จึงควรเลือกให้เหมาะกับเรามากที่สุด กล่าวคือหากเราปลูกเพื่อรับประทานเอง ซึ่งใช้เมล็ดในการปลูกไม่มาก หรือทำเป็นสลัดมิกส์ รวมถึงใช้จำหน่ายในร้านอาหาร ก็ให้เลือกใช้เมล็ดแบบไม่เคลือบก็พอเนื่องจากเก็บได้นาน, ราคาถูก มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือก แต่หากต้องการปลูกเพื่อเป็นการค้าและต้องปลูกเป็นจำนวนมากเพื่อลดขั้นตอนการเพาะเมล็ดก็สามารถเลือกใช้เมล็ดแบบเคลือบแทน แต่ทั้งนี้ผักที่ปลูกจะมีคุณภาพทั้งทางด้านรูปลักษณ์, สีสรร รวมถึงน้ำหนัก จะดีหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ ในการปลูกประกอบด้วยเป็นสำคัญ
เมล็ดพันธุ์ผักทุกชนิดที่เรานำมาเพาะต้องอาศัยปัจจัยในการทำให้เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน คือ น้ำ, อุณหภูมิ, ออกซิเจน และสำหรับพืชบางชนิดอาจต้องใช้แสงช่วยในการกระตุ้นการงอกด้วย ตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้แสงสีแดงช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ด และใช้แสงสีน้ำเงินช่วยในการเจริญเติบโตของต้นพืชด้วย
โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมและดีที่สุดในการเพาะเมล็ดสลัด จะอยู่ในช่วง 18 - 20 องศาเซลเซียส ปัญหาที่สำคัญในการเพาะเมล็ด คืออากาศของเมืองไทยค่อนข้างร้อน ซึ่งมีผลทำให้การงอกของเมล็ดเป็นไปได้ช้า และมีเปอร์เซ็นต์งอกต่ำ เนื่องจากขณะที่เมล็ดได้รับความชื้นจากน้ำ เมล็ดจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในตัวเมล็ด ในกระบวนการงอกนั้นเมล็ดต้องการอ๊อกซิเจนช่วยในกระบวนการนี้ หากอุณหภูมิสูงจะทำให้อ๊อกซิเจนต่ำ บวกกับถ้าวัสดุปลูกแฉะมากเกินไป ทำให้เมล็ดมีโอกาสเสี่ยงกับการขาดอ๊อกซิเจน และเชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย ดังนั้นการเพาะเมล็ดสลัดอย่าให้วัสดุที่ปลูกเปียกชื้นมากเกินไป วิธีที่จะช่วยให้เพาะเมล็ดให้มีอัตราการงอกสูงขึ้นได้นั้น แนะนำให้เพาะเมล็ดในช่วงเย็นหรือช่วงกลางคืน เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวสภาพอากาศมีอุณหภูมิต่ำซึ่งเป็นผลดีต่อการงอกของเมล็ดสลัด
เมล็ดพืชจำพวกแตง ได้แก่ แตงกวา, ฟักทอง, แตงโม, เมล่อน, แคนตาลูป เป็นพืชที่ชอบอากาศอบอุ่น - ร้อน การเพาะเมล็ดในช่วงที่อากาศเย็นจะทำให้การงอกช้าออกไป โดยปกติพืชตระกูลแตงจะใช้ระยะเวลาในการงอกประมาณ 2 - 7 วัน ก่อนนำไปเพาะควรแช่ในน้ำอุ่นก่อน 3 - 4 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 คืน แล้วนำไปห่อด้วยผ้าหรือกระดาษชุบน้ำบิดหมาดๆ ห่อเมล็ดไว้ แล้วนำผ้าที่ห่อเมล็ดนั้นไปใส่ถุงพลาสติกหรือกล่องถนอมอาหารอีกชั้นเพื่อบ่มเมล็ดให้อุ่นขึ้น ประมาณ 2 - 7 วันเมล็ดจะเริ่มงอก ก็นำไปเพาะใส่วัสดุปลูกได้เลยครับ สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดพืชจำพวกแตง จะอยู่ในช่วง 30 - 35 องศาเซลเซียส
ตารางความสัมพันธ์ของอุณหภูมิที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
ตัวเลขนอกวงเล็บคือ % ในการงอกของเมล็ด, ตัวเลขในวงเล็บคือ จำนวนวันที่ใช้ในการงอก
สรุป จากตางรางด้านบนจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิมีผลเป็นอย่างมากต่อระยะเวลาและเปอร์เซ็นต์ในการงอกของเมล็ดพืชแต่ละชนิด ตัวเลขสีแดงคือค่าเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพืชที่ดีที่สุดในอุณหภูมินั้นๆ เช่น
- สลัด อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 20 - 25 องศาเซลเซียส โดยจะมีเปอร์เซ็นสูงสุดและใช้เวลาน้อยที่สุด
- ปวยเล้ง อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 5 องศาเซลเซียส โดยจะมีเปอร์เซ็นสูงสุด แต่ใช้เวลาไม่สั้นที่สุด
การปลูกพืชผักทุกชนิด ผู้ปลูกควรมีการจดบันทึกวันที่เริ่มมีการเพาะเมล็ดไว้ทุกครั้ง เพื่อใช้กำหนดขั้นตอนการดูแลผักในแต่ละวันเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเป็นการวางแผนการปลูกในรอบต่อๆไป และช่วยให้เราทราบถึงอายุผักที่ปลูกได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
*สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดที่แนะนำด้านล่างนี้เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยง จากการที่ต้องเพาะเมล็ดซ่อมในกรณีที่เราเพาะลงในฟองน้ำหรือวัสดุปลูกโดยตรง แล้วเมล็ดงอกไม่สม่ำเสมอกันหรือเมล็ดไม่งอก ทำให้เราต้องเสียเวลาในการเพาะซ่อมเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่งอกทำให้ผักในแปลงปลูกอายุไม่เท่ากัน สำหรับผู้ที่ต้องการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรงสามารถทำได้ครับ แต่แนะนำให้เพาะเผื่อไว้กันพลาด อย่างเช่นการเพาะสลัดปกติกเราจะใส่ 1 เมล็ดต่องฟองน้ำ 1 ก้อน ก็ให้เราใส่ไปประมาณ 2 - 3 เมล็ด เมื่อต้นเกล้าอายุได้ประมาณ 7 วัน ก็ให้เลือกต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ 1 ต้น ที่เหลือก็ถอนออกครับ
*สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดที่แนะนำด้านล่างนี้เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยง จากการที่ต้องเพาะเมล็ดซ่อมในกรณีที่เราเพาะลงในฟองน้ำหรือวัสดุปลูกโดยตรง แล้วเมล็ดงอกไม่สม่ำเสมอกันหรือเมล็ดไม่งอก ทำให้เราต้องเสียเวลาในการเพาะซ่อมเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่งอกทำให้ผักในแปลงปลูกอายุไม่เท่ากัน สำหรับผู้ที่ต้องการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรงสามารถทำได้ครับ แต่แนะนำให้เพาะเผื่อไว้กันพลาด อย่างเช่นการเพาะสลัดปกติกเราจะใส่ 1 เมล็ดต่องฟองน้ำ 1 ก้อน ก็ให้เราใส่ไปประมาณ 2 - 3 เมล็ด เมื่อต้นเกล้าอายุได้ประมาณ 7 วัน ก็ให้เลือกต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ 1 ต้น ที่เหลือก็ถอนออกครับ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเมล็ด
1. ถาดพลาสติกสูงประมาณ 1 นิ้ว (สำหรับอนุบาลต้นกล้า)
2. ถาดพลาสติกเล็ก หรือกล่องถนอมอาหารก็ได้ (สำหรับเพาะเมล็ด)
3. กระดาษชำระ
4. เมล็ดผักที่จะทำการเพาะ
5. ฟ๊อกกี้ (ที่สเปรย์น้ำ)
6. กระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกทึบแสง
7. ฟองน้ำสำหรับปลูกพืช
8. ไม้จิ้มฟันปลายแหลม
วิธีการเพาะเมล็ดผักสลัด (แบบไม่เคลือบ)
* สำหรับเมล็ดสลัดแบบเคลือบสามารถข้ามขั้นตอนการกระตุ้นการงอกโดยนำเมล็ดฝังลงวัสดุปลูกได้เลยครับ โดยฝังเมล็ดในวัสดุปลูกลึกประมาณ 2 - 4 มิลลิเมตร รดน้ำให้พอชุ่มและคลุมถาดเพาะไว้เพื่อรักษาความชื้นให้วัสดุปลูก นำถาดเพาะมาวางไว้ที่มีอุณหภูมิไม่สูงเกินไปให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 15 - 25 องศา C จะทำให้เมล็ดงอกได้สม่ำเสมอกัน
1. นำกระดาษชำระวางลงบนถาดขนาดเล็กหรือจาน โดยวางกระดาษชำระซ้อนกันประมาณ 2 - 3 ชั้น
2. นำเมล็ดที่ต้องการปลูกโรยลงบนกระดาษชำระ
3. ฉีดฟ๊อคกี้ให้ทั่วถาดเพาะเมล็ดให้กระดาษพอเปียก แต่อย่าให้แฉะหรือมีน้ำขังในถาด ถ้ามีน้ำขังให้เทน้ำออกให้หมด (น้ำที่ใช้เป็นน้ำดื่มสะอาด ห้ามใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนโดยเด็ดขาด เนื่องจากคลอรีนในน้ำประปาจะทำให้เมล็ดเน่า และไม่งอกได้)
4. นำกระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกทึบแสงนำมาปิดถาดเอาไว้เพื่อรักษาความชื้นให้กับเมล็ด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกของผักสลัดอยู่ที่ 18 - 25 องศา C และใช้กระบวนการงอกจากเมล็ดใช้เวลาประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง จึงควรนำถาดเพาะมาวางไว้ในบริเวณที่มีอากาศค่อนข้างเย็น (ถ้าเป็นห้องปรับอากาศได้จะยิ่งดีมากครับเพราะจะทำให้สลัดงอกได้เร็วขึ้น)
5. เมื่อผ่านไปประมาณ 2 วัน หลังจากเพาะเมล็ด ให้สังเกตุดูที่เมล็ด จะเริ่มมีรากสีขาวของต้นกล้างอกออกมาประมาณ 2 มิลลิเมตร ก็สามารถย้ายลงปลูกในก้อนฟองน้ำได้เลย อย่าปล่อยให้เกิน 2 วัน เพราะช่วงนี้รากของสลัดจะยาวเร็วมาก ถ้าย้ายช้ากว่านั้นรากจะติดกับกระดาษชำระทำให้ดึงออกได้ยาก แต่ถ้ารากยาวมากให้เราแก้ไขโดยใช้ฟ็อคกี้ค่อยเสปรย์น้ำลงไปให้กระดาษฉุ่มน้ำพอกระดาษอ่อนนิ่มแล้วจะทำให้เราใช้คีมเล็กๆค่อยๆ ดึงเมล็ดออกมาได้ง่ายโดยที่รากจะไม่ขาด
6. ให้นำฟองน้ำที่จะใช้ในการปลูกเรียงในถาดเพาะ แล้วเทน้ำสะอาดให้เต็มถาดอนุบาล (น้ำที่ใช้เป็นน้ำดื่มสะอาด ห้ามใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนโดยเด็ดขาด เนื่องจากคลอรีนในประปาจะทำให้รากเน่าได้) จากนั้นใช้มือกดก้อนฟองน้ำเพื่อไล่อากาศจากก้อนฟอง และให้น้ำดูดซับน้ำเข้าไปแทน แล้วเทน้ำลงไปในถาดเพิ่ม ใช้มือกดก้อนฟองน้ำอีกครั้งเพื่อให้ก้อนฟองน้ำอิ่มน้ำ แล้วเทน้ำในถาดอนุบาลให้สูงเกือบท่วมก้อนฟองน้ำ โดยห่างจากด้านบนฟองน้ำประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร
7. นำเมล็ดที่เพาะได้ประมาณ 1 - 2 วัน ที่มีรากสีขาวงอกออกมา (เลือกเมล็ดที่งอกใกล้เคียงกัน) นำไม้จิ้มฟัน หรือคีมเล็กๆ ค่อยๆ คีบเมล็ดที่มีรากงอก นำรากไปสอดในช่องตรงกลางของฟองน้ำ (ต้องระมัดระวังอย่าให้รากหักหรือพับงอ) โดยสอดเมล็ดลงไปให้ส่วนท้ายของเมล็ดโผล่จากก้อนฟองน้ำเล็กน้อย ช่วงนี้แนะนำให้ถาดเพาะโดนแสงสว่างธรรมชาติช่วงเช้าหรือเย็น บ้างอย่างน้อย 2 - 4 ชั่วโมงต่อวัน
- ผักสลัดให้ใส่ 1 เมล็ดต่อฟองน้ำ 1 ก้อน
- ผักไทย,ผักจีนให้ใส่ 2 - 3 เมล็ดต่อฟองน้ำ 1 ก้อน
9. เมื่อครบ 7 วัน หลังจากเพาะเมล็ด ต้นกล้าเริ่มมีใบจริง งอกออกมาให้เทน้ำเก่าในถาดอนุบาลออกให้หมด แล้วนำน้ำผสมธาตุอาหาร A, B แบบเจือจาง เติมลงไปในถาดแทนน้ำเดิม และลดระดับน้ำให้เหลือ 1/3 ของก้อนฟองน้ำ และเพิ่มระยะเวลาในการรับแสงแดดของต้นกล้า 5 - 6 ชั่วโมง/วัน การเพิ่มปริมาณแสงแดดให้ต้นเกล้าจะทำให้ต้นเกล้าแข็งแรงและเคยชินกับแสงแดดทำให้เวลาย้ายลงปลูกผักจะไม่มีอาการเฉี่ยวเฉาได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดดแรงๆ
- ผักสลัด ปุ๋ย A, B อย่างละ 1 - 2 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
- ผักไทย ปุ๋ย A, B อย่างละ 2 - 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
10. เมื่อครบ 14 วัน (2 สัปดาห์) ต้นกล้าก็พร้อมที่ย้ายลงแปลงปลูกได้แล้ว มีข้อปฎิบัติดังนี้
(ระยะเวลาการอนุบาลในแต่ละฤดูอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นปัจจัย บางฤดูอาจใช้เวลาอนุบาลเพียง 10 วันก็สามารถย้ายลงปลูกได้เลย โดยเราจะสังเกตุได้จากต้นเกล้าเป็นหลักถ้าต้นเกล้ามีใบจริงอย่างน้อย 2 ใบก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ) สำหรับฟาร์มใหญ่ๆ มักจะมีแปลงอนุบาลในแต่ละช่วงอายุผัก ก็สามารถย้ายลงอนุบาลได้ตั้งแต่เกล้าอายุได้ประมาณ 5 - 7 วัน จะทำให้รอบการปลูกแต่ละรอบสั้นลง โดยก่อนย้ายเกล้าผักลงแปลงให้ปฎิบัติดังนี้
- ให้สเปรย์น้ำให้ทั่วก้อนฟองน้ำก่อนย้ายลงแปลงปลูก และควรเลือกย้ายในช่วงเย็น เนื่องจากช่วงเย็นจนถึงค่ำ พืชจะปรับตัวได้ดีกว่าช่วงกลางวัน และลดความเสี่ยงที่ต้นเกล้าจะเฉาตายจากแดดได้
- ให้เลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์และมีขนาดต้นใกล้เคียงกันลงแปลงปลูก
11. นำต้นกล้าใส่กระถางปลูก (สอดต้นกล้าจากด้านล่างกระถางเพื่อป้องกันการพับหักงอของรากพืชจากการใส่ฟองน้ำจากด้านบนกระถาง) โดยให้ก้นของฟองน้ำโผล่ออกมาจากก้นกระถาง
12. นำต้นกล้าที่สวมกระถางปลูกแล้วไปใส่ในช่องปลูกของรางปลูก โดยสังเกตุว่าก้นของฟองน้ำสัมผัสกับน้ำในรางปลูกหรือไม่ หากยังไม่สัมผัสก็ให้ขยับฟองน้ำลงมาเพื่อให้ก้นของฟองน้ำแตะกับน้ำในรางปลูก (ให้น้ำในรางปลูกสัมผัสกับฟองน้ำประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร)
เทคนิคการเพาะเมล็ดของผักแต่ละชนิด
1. ผักบุ้ง นำเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแจาะรู แช่น้ำอุ่น ประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง ในระหว่างแช่ให้หาวัตถุกดทับถุงใส่เมล็ดให้จมอยู่ในน้ำเสมอ
ผักบุ้งจะใช้เวลางอกประมาณ 5 - 14 วัน
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกคือ 18 - 25 องศาเซลเซียส
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 25 - 30 วัน
2. คื่นช่าย นำเมล็ดแช่น้ำเย็นประมาณ 4 - 5 ชั่วโมง แล้วห่อด้วยผ้า หรือเพาะบนกระดาษทิชชูแบบเดียวกับการเพาะเมล็ดสลัด หรือจะนำไปเพาะบนกระบะทรายก็ได้เช่นกัน
คื่นฉ่ายจะใช้เวลางอกประมาณ 7 - 14 วัน
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกคือ 15 - 20 องศาเซลเซียส
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70 - 80 วัน
3. ผักชี นำเมล็ดมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้าแล้วใช้ท่อพีวีซี กลิ้งคลึงเมล็ดให้แตกเป็น 2 ซีก แล้วนำไปแช่น้ำอุ่นประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง แล้วนำไปเพาะตามปกติจะทำให้ผักชีงอกได้เร็วขึ้น ปกติผักชีจะใช้เวลางอกประมาณ 7 - 14 วัน หรือจะนำไปเพาะบนกระบะทรายก็ได้
- ผักชีไทย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 40 - 50 วัน
- ผักชีลาว อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 55 - 60 วัน
4. ผักชีฝรั่ง นำเมล็ดแช่น้ำอุ่นประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง แล้วนำไปเพาะตามปกติ
ผักชีฝรั่ง จะใช้เวลางอกประมาณ 7 - 14 วัน
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 - 120 วัน
5. พืชตระกูลแตง ได้แก่ แตงกวา, แตงโม, แคนตาลูป, เมล่อน, แตงไทย, ฟักทอง, น้ำเต้า ฯลฯ นำเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแจาะรู แช่น้ำอุ่น 40 - 50 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง ในระหว่างแช่ให้หาวัตถุกดทับถุงใส่เมล็ดให้จมอยู่ในน้ำเสมอ จากนั้นให้นำเมล็ดมาห่อด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำบิดให้หมาด ห่อเมล็ดเอาไว้จากนั้นให้นำห่อผ้าดังกล่าวไปใส่ในกล่องถนอมอาหาร หรือกระติกน้ำ ปิดฝาให้สนิท นำไปตากแดดในช่วงเช้าประมาณ 1 - 3 วันจะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น
พืชตระกูลแตง จะใช้เวลางอกประมาณ 2 - 10 วันเมื่อเมล็ดเริ่มงอกก็นำไปเพาะลงวัสดุปลูกต่อไป
- แตงโมเปลือกลาย, แตงโมเปลือกดำ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 35 - 40 วันหลังจากดอกบาน
- แตงไทย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50 - 55 วันหลังจากหยอดเมล็ด
- แตงกวา อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 - 7 วันหลังดอกบาน
- เมล่อน, แคนตาลูป อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 40 - 60 วันหลังผสมเกสร (แล้วแต่ชนิดของสายพันธุ์)
- ฟักทองญี่ปุ่น 45 - 50 วัน หลังดอกบาน
6. พืชกลุ่มพริก, มะเขือม่วง นำเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแจาะรู แช่น้ำอุ่น 40 - 50 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง ในระหว่างแช่ให้หาวัตถุกดทับถุงใส่เมล็ดให้จมอยู่ในน้ำเสมอ จากนั้นให้นำเมล็ดมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหาร ที่รองด้วยกระดาษชำระพรมน้ำให้กระดาษพอมีความชื้น แต่อย่าให้เปียกหรือ มีน้ำขัง นำเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ววางลงบนกระดาษชำระโดย ไม่ต้องทับกระดาษลงอีกชั้น จากนั้นปิดฝาให้สนิท นำไปตากแดด จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น
เมล็ดพริก, มะเขือ จะใช้เวลาในการงอกประมาณ 5 - 10 วัน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกก็นำไปเพาะลงวัสดุปลูกต่อไป
- พริก อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50 - 60 วันหลังจากหยอดเมล็ด
- พริกหวาน อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 80 - 100 วันหลังจากหยอดเมล็ด
- มะเขือเปราะ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50 - 60 วันหลังจากหยอดเมล็ด
- มะเขือม่วง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50 - 60 วันหลังจากหยอดเมล็ด
7. มะเขือเทศ เตรียมน้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีน ใส่แก้วน้ำดื่มประมาณ 2/3 แก้ว ใส่เมล็ดมะเขือเทศแช่ลงไปในน้ำสะอาดนั้น ให้แช่ทิ้งไว้อย่างนั้น โดยเราเปลี่ยนน้ำประมาณ 50% ทุกวัน วิธีการนี้จะทำให้เมล็ดมะเขือเทศงอกเร็วกว่าการเพาะแบบปกติ จะใช้เวลาในการงอกประมาณ 5 - 10 วัน คอยสังเกตุที่เมล็ดเมื่อเริ่มงอกก็นำไปเพาะลงวัสดุปลูกต่อไปได้เลย
7. ปวยเล้ง เป็นพืชที่หลายคนคิดว่าเพาะได้ยาก แต่จริงๆแล้วการเพาะปวยเล้งไม่ยากอย่างที่คิดแต่อาจจะใช้เวลา และเทคนิคยุ่งยากกว่าเมล็ดพืชชนิดอื่น โดยมีขั้นตอนดังนี้
- นำเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแจาะรู แช่น้ำอุ่น 40 - 50 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง ในระหว่างแช่ให้หาวัตถุกดทับถุงใส่เมล็ดให้จมอยู่ในน้ำเสมอ จากนั้นให้นำเมล็ดมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหาร ที่รองด้วยกระดาษชำระพรมน้ำให้กระดาษพอมีความชื้น แต่อย่าให้เปียกหรือ มีน้ำขัง นำเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว ผึ่งให้เมล็ดแห้งพอหมาดๆ วางลงบนกระดาษชำระโดย ไม่ต้องทับกระดาษลงอีกชั้น จากนั้นปิดฝาให้สนิท
- นำกล่องถนอมอาหารนี้ไปใส่ในตู้เย็น (ช่องแช่ผักธรรมดา) อุณหภูมิของตู้เย็นปกติจะอยู่ที่ประมาณ 4 - 7 องศา C ซึ่งเป็นอุณหภูมิทีเหมาะต่อการงอกของเมล็ดปวยเล้งอยู่แล้ว
- ประมาณ 7 - 14 วัน เมล็ดปวยเล้งจะเริ่มแตกออก และมีปลายรากโผล่ออกมาจากเมล็ด จึงสามารถนำเมล็ดที่มีรากงอกออกมานั้นไปเพาะลงวัสดุปลูกได้ครับ
อายุเก็บเกี่ยวปวยเล้งประมาณ 40 - 45 วัน (นับจากวันปลูก)
8. บรีทรูท, สวิชชาร์ด เป็นพืชที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งเช่นจึ้งต้องทำการแช่น้ำอุ่นก่อนเพื่อเป็นการกระตุ้นการงอกโดยมีขั้นตอนดังนี้
- นำเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแจาะรู แช่น้ำอุ่น 40 - 50 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง ในระหว่างแช่ให้หาวัตถุกดทับถุงใส่เมล็ดให้จมอยู่ในน้ำเสมอ จากนั้นให้นำเมล็ดมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหาร ที่รองด้วยกระดาษชำระพรมน้ำให้กระดาษพอมีความชื้น แต่อย่าให้เปียกหรือ มีน้ำขัง นำเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว ผึ่งให้เมล็ดแห้งพอหมาดๆ วางลงบนกระดาษชำระโดย ไม่ต้องทับกระดาษลงอีกชั้น จากนั้นปิดฝาให้สนิท
- นำกล่องถนอมอาหารนี้ไปตากแดด ประมาณ 7 - 14 วัน เมล็ดจะมีปลายรากโผล่ออกมา จึงสามารถนำเมล็ดไปเพาะลงวัสดุปลูกต่อไปได้ครับ (อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับบรีทรูทและสวีทชาร์ด ค่อนข้างต้องใช้อุณหภูมิสูง โดยใช้อุณหภูมิของวัสดุปลูกอยู่ที่ประมาณ 30 องศา C) ดังนั้นการเพาะในวัสดุที่เป็นฟองน้ำหรือดินที่เปียกซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ทำให้เมล็ดงอกช้า หรือไม่งอกได้ครับ
อายุเก็บเกี่ยว สวีทชาร์ด ประมาณ 50 - 55 วัน (นับจากวันปลูก)
อายุเก็บเกี่ยวบรีทรูท ประมาณ 50 - 60 วัน (นับจากวันปลูก)
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช
เมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิดปกติแล้วเมื่อเปิดบรรจุภัณฑ์ แล้วแนะนำให้ใช้ให้หมดเนื่องจากเมล็ดจะเริ่มสูญเสียความชื้น ทำให้อัตราการงอกลดลง หากใช้ไม่หมดการเก็บเมล็ดพันธุ์พืช แนะนำให้เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น กระปุกยา, กล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท เก็บในตู้เย็น (ช่องแช่ผัก) อุณหภูมิ 4 - 10 องศาเซลเซียส โดยเมล็ดพันธุ์พืชที่เก็บในภาชนะปิดสนิทและเก็บในอุณหภูมิต่ำ สามารถเก็บได้นานประมาณ 2 - 3 ปี
เริ่มต้นปลูกด้วยอุปกรณ์ภายในบ้าน
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เช่น ลังพลาสติก, อ่างน้ำพลาสติก, ฯลฯ โดยมีความสูงไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว
2. ปั๊มลมและหัวทราย แบบเดียวกับที่ใช้ในตู้ปลา (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
3. แผ่นโฟมหนาประมาณ 1 นิ้ว หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดก็ได้
- สำหรับปลูกผักไทย เจาะรูห่างกันประมาณ 10 - 15 ซม.
- สำหรับผักสลัด เจาะรูห่างกันประมาณ 20 - 25 ซม.
4. pH Down น้ำยาปรับลดค่าความเป็นกรด-ด่าง
5. ธาตุอาหาร A, B สำหรับปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์
6. ถ้วยปลูกพลาสติก
7. ฟองน้ำสำหรับปลูก
8. เมล็ดพันธุ์ผักที่จะปลูก
วิธีปลูก
เมื่ออนุบาลผักจนมีอายุได้ประมาณ 10 - 14 วัน หรือผักเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 ใบ ก็ย้ายลงแปลงปลูกได้ โดยสัปดาห์แรกของการลงแปลงปลูกให้ผักได้รับแสงประมาณ 5 ชั่วโมง/วัน แล้วค่อยขยายเวลาไปจนถึง 6 - 8 ชั่วโมง/วัน พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดที่แรงเกินไปโดยเฉพาะผักสลัด เพราะแสงแดดที่เข้มเกินไปจะทำให้ผักเฉาและตายได้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้สแลนพรางแสง 50% ในช่วงเที่ยงหรือบ่ายเพื่อลดอุณหภูมิ
1. ตวงน้ำใส่ลงในภาชนะที่จะปลูกโดยให้ระดับน้ำห่างจากขอบภาชนะประมาณ 1 - 2 นิ้ว
(นับจำนวนน้ำที่ใส่ลงไปในภาชนะ โดยใช้หน่วยเป็นลิตร)
2. ใส่ธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชไร้ดิน ตามสัดส่วนดังนี้
ผักสลัดใบเขียว อายุปลูก 40 - 50 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 2.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 1.4
ผักสลัดใบแดง อายุปลูก 45 - 55 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 2.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 1.4
ผักโขม,ผักบุ้ง อายุปลูก 30 - 35 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 2.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 1.8
ผักกวางตุ้ง อายุปลูก 35 - 40 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 3.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 2.5
ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ อายุปลูก 35 - 40 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 3.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 3.0
คะน้า อายุปลูก 45 - 55 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 4.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 4.0
* การใส่ธาตุอาหาร A และ B ให้ทิ้งระยะการใส่ธาตุอาหารทั้งสองให้ห่างกันประมาณ 4 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ถ้าหากกวนธาตุอาหาร A เข้ากับน้ำดีแล้ว สามารถเติมธาตุอาหาร B ลงไปได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึง 4 ชั่วโมงก็ได้ครับ
3. นำแผ่นโฟมหรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดที่เจาะรูไว้แล้วมาวางปิดด้านบนของภาชนะที่ใช้ปลูก
- สำหรับปลูกผักไทย เจาะรูห่างกันประมาณ 10 - 15 ซม.
- สำหรับผักสลัด เจาะรูห่างกันประมาณ 20 - 25 ซม.
4. นำต้นกล้าที่อนุบาลมาแล้ว 10 - 14 วัน นำมาใส่กระถางปลูก แล้วนำไปใส่ในช่องปลูกจนครบทุกช่องและโดยให้ก้นฟองน้ำแตะกับน้ำในภาชนะปลูก (รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับเดิมจนครบอายุปลูกของผักแต่ละชนิด) และควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกๆ 7 วัน - 10 วัน เพื่อความสมบูรณ์ของผักที่ปลูก และอาจจะใส่หัวทรายตู้ปลาเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำที่ใช้ปลูกด้วยก็ได้ จะทำให้ผักโตเร็วขึ้น
5. ในระหว่างการปลูกหมั่นดูระดับน้ำในภาชนะปลูกอย่าให้แห้ง รักษาระดับน้ำให้น้ำสัมผัสกับรากพืชประมาณ 1 ใน 3 ส่วน สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดค่าเป็นกรด-ด่างของน้ำ หรือ pH Meter แนะนำให้สังเกตุที่ผิวน้ำผสมปุ๋ยที่ใช้ปลูกถ้าเริ่มเห็นลักษณะของผิวน้ำเป็นฝ้าหรือคล้ายมีคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำ ผู้ปลูกอย่างปล่อยทิ้งไว้นานเพราะลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าน้ำเริ่มมีความเป็นด่างมากขึ้น จึงทำให้ธาตุอาหารพืชบางตัวอยู่ในสภาวะที่พืชดูดซึมไม่ได้ แนะนำให้ผู้ปลูกใช้ pH Down ค่อยๆ หยดลงในน้ำทีละหยด และกวนน้ำให้ฝ้านั้นแตกตัว และคอยสังเกตุว่าฝ้านั้นไม่กลับมาก็เป็นอันใช้ได้ครับ
สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือวัดค่า pH ต้องระมัดระวังในการใช้ pH Down ด้วยนะครับ ให้ใช้ทีละน้อย อย่าเติมมากเกินไปเพราะอาจทำให้น้ำมีความเข้มข้นของกรดสูงเกินไปจนเป็นอันตรายกับรากพืชได้ครับ แต่ถ้าผู้ปลูกมีเครื่องวัดค่า pH ก็ให้ปรับและรักษาค่า pH ในช่วงแรกหลังลงปลูก ให้อยู่ในระดับ 6.0 - 6.3 และให้ปรับขึ้นมาที่ 6.4 - 6.6 หลังผักสลัดอายุได้ 30 วัน
6. เมื่อพืชเจริญเติบโต ได้ระยะหนึ่งหรือประมาณ 30 วันหลังจากวันเพาะเมล็ด ปริมาณรากพืชจะมีมากขึ้น เราต้องมีการลดระดับน้ำในภาชนะปลูกลง เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่อากาศให้กับรากพืชมากขึ้น โดยจะลดระดับน้ำลงจากเดิมลงไปอีกประมาณ 1 - 2 นิ้ว
ข้อดีของการลดระดับน้ำลงคือ
- ทำให้รากพืชได้รับอ๊อกซิเจนจากอากาศมากขึ้น
- ป้องกันการยืดตัวของผักโดยเฉพาะผักสลัด
- ทำให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากถ้าหากเราไม่ลดระดับน้ำลงจะทำให้พืชหยุดชะงัก การเจริญเติบโตเนื่องจากรากพืชมีมากขึ้นแต่พื้นที่อากาศมีเท่าเดิม
* ทั้งนี้การลดระดับน้ำลงแนะนำให้ทำในช่วงเย็น - ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่พืชสามารถปรับตัวได้ดีกว่าช่วงเวลาอื่น โดยระดับน้ำให้ผู้ปลูกสังเกตุที่รากพืชให้แช่ในน้ำอย่างน้อย 1 - 3 ของรากทั้งหมด
5. ในระหว่างการปลูกหมั่นดูระดับน้ำในภาชนะปลูกอย่าให้แห้ง รักษาระดับน้ำให้น้ำสัมผัสกับรากพืชประมาณ 1 ใน 3 ส่วน สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดค่าเป็นกรด-ด่างของน้ำ หรือ pH Meter แนะนำให้สังเกตุที่ผิวน้ำผสมปุ๋ยที่ใช้ปลูกถ้าเริ่มเห็นลักษณะของผิวน้ำเป็นฝ้าหรือคล้ายมีคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำ ผู้ปลูกอย่างปล่อยทิ้งไว้นานเพราะลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าน้ำเริ่มมีความเป็นด่างมากขึ้น จึงทำให้ธาตุอาหารพืชบางตัวอยู่ในสภาวะที่พืชดูดซึมไม่ได้ แนะนำให้ผู้ปลูกใช้ pH Down ค่อยๆ หยดลงในน้ำทีละหยด และกวนน้ำให้ฝ้านั้นแตกตัว และคอยสังเกตุว่าฝ้านั้นไม่กลับมาก็เป็นอันใช้ได้ครับ
สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือวัดค่า pH ต้องระมัดระวังในการใช้ pH Down ด้วยนะครับ ให้ใช้ทีละน้อย อย่าเติมมากเกินไปเพราะอาจทำให้น้ำมีความเข้มข้นของกรดสูงเกินไปจนเป็นอันตรายกับรากพืชได้ครับ แต่ถ้าผู้ปลูกมีเครื่องวัดค่า pH ก็ให้ปรับและรักษาค่า pH ในช่วงแรกหลังลงปลูก ให้อยู่ในระดับ 6.0 - 6.3 และให้ปรับขึ้นมาที่ 6.4 - 6.6 หลังผักสลัดอายุได้ 30 วัน
6. เมื่อพืชเจริญเติบโต ได้ระยะหนึ่งหรือประมาณ 30 วันหลังจากวันเพาะเมล็ด ปริมาณรากพืชจะมีมากขึ้น เราต้องมีการลดระดับน้ำในภาชนะปลูกลง เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่อากาศให้กับรากพืชมากขึ้น โดยจะลดระดับน้ำลงจากเดิมลงไปอีกประมาณ 1 - 2 นิ้ว
ข้อดีของการลดระดับน้ำลงคือ
- ทำให้รากพืชได้รับอ๊อกซิเจนจากอากาศมากขึ้น
- ป้องกันการยืดตัวของผักโดยเฉพาะผักสลัด
- ทำให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากถ้าหากเราไม่ลดระดับน้ำลงจะทำให้พืชหยุดชะงัก การเจริญเติบโตเนื่องจากรากพืชมีมากขึ้นแต่พื้นที่อากาศมีเท่าเดิม
* ทั้งนี้การลดระดับน้ำลงแนะนำให้ทำในช่วงเย็น - ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่พืชสามารถปรับตัวได้ดีกว่าช่วงเวลาอื่น โดยระดับน้ำให้ผู้ปลูกสังเกตุที่รากพืชให้แช่ในน้ำอย่างน้อย 1 - 3 ของรากทั้งหมด
ตัวอย่างภาพอุปกรณ์ที่ใช้ปลูก
สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือวัดค่า EC
การปลูกผักตระกูลสลัด เราจะแบ่งการให้น้ำผสมธาตุอาหารเป็น 6 สัปดาห์ ดังนี้
วันที่ 1 - 7 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้ใช้น้ำเปล่า
วันที่ 8 - 14 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้น้ำผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
วันที่ 15 - 21 ลงแปลงปลูก ให้น้ำผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 22 - 28 ให้เปลี่ยนน้ำในแปลงปลูกใหม่โดยผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 2 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 29 - 35 ให้เปลี่ยนน้ำในแปลงปลูกใหม่โดยผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
(ให้ลดระดับน้ำในภาชนะปลูกลงประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว เพื่อเพิ่มพื้นที่อากาศให้กับรากพืช)
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 36 - 40 ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ โดยผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 40 - 45 ให้เปลี่ยนน้ำโดยใช้น้ำเปล่าเลี้ยง (เพื่อเก็บเกี่ยว)
หมายเหตุ การเปลี่ยนน้ำที่แนะนำไว้ข้างต้นคือข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ปลูกในภาชนะขนาดเล็ก ที่ไม่มีการเติมอากาศ หากผู้ที่ปลูกแบบเติมอากาศและภาชนะปลูกค่อนข้างใหญ่ ให้เปลี่ยนน้ำเมื่อผักอายุได้ประมาณ 28 วัน ครั้งเดียวก็ได้ครับ
ตัวอย่างการปลูกสลัดสำหรับผู้ที่มีเครื่องมือวัดค่า EC และเครื่องวัดค่า pH ให้ปรับค่าดังนี้
(กำหนดค่า pH ให้อยู่ในช่วง 6.0 - 6.8)
วันที่ 1 - 7 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้ใช้น้ำเปล่า
วันที่ 8 - 14 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้ช่วงค่า EC = 1.1 - 1.2
วันที่ 15 - 21 ย้ายลงแปลงปลูก ให้ช่วงค่า EC = 1.2 - 1.3
วันที่ 22 - 28 อยู่ในแปลงปลูก ให้ช่วงค่า EC = 1.4 - 1.5
วันที่ 29 - 35 ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ ให้ช่วงค่า EC = 1.2 - 1.3
วันที่ 36 - 42 อยู่ในแปลงปลูก ให้ช่วงค่า EC = 0.8 - 1.2
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร โดยให้ 3 วันสุดท้ายก่อนเก็บผักให้ค่า EC อยู่ที่ประมาณ 0.5 ms/cm
การเปลี่ยนน้ำและธาตุอาหารใหม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่างๆ คือ
- ความบริสุทธิของน้ำที่ใช้ปลูก (มีค่าสารละลายเริ่มต้นต่ำ และมีค่า pH ก่อนปรับค่าไม่สูงมาก)
การเปลี่ยนน้ำจะไม่ต้องกระทำบ่อยเนื่องจากน้ำที่มีความบริสุทธิสูง จะมีผลต่อความสมดุลของธาตุอาหารพืชได้ดีกว่าน้ำที่มีความบริสุทธิต่ำ
- ฤดูกาล คือช่วงฤดูร้อนอาจจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำใหม่ในช่วงประมาณ 7-10 วัน สำหรับฤดูอื่น 10-14 วัน
- ขนาดของถังใส่ธาตุอาหาร คือ ถ้าขนาดของถังเล็กไม่สัมพันธ์กับปริมาณผักที่ปลูก ซึ่งจะทำให้ค่า pH และค่า EC มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าปกติ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น
ค่า pH และค่า EC สำหรับปลูกพืชชนิดต่างๆ (คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)
ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://zen-hydroponics.blogspot.com
หรืออีกหนึ่งช่องทางการศึกษา
http://loadfree.mobi/movie-download/F-VDmjsGDU0/MISbook
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น