วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของผัก




 


ลำดับ

ชนิด

คุณสมบัติ
1สะเดา  (Neem  tree)มีเบต้าแคโรทีนสูง   บำรุงสายตา   เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ
2ผักกาดขาว (Chinese white cabbage)ช่วยระบบย่อยอาหาร  ขับปัสสาวะ  แก้ไอ  มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ
3ต้นหอม  (Shallot)มีน้ำมันหอมระเหย  บรรเทาอาการหวัด  มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง
4แครอท (Carrot)เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง  มีแคลเซียม  แพคเตท  ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้
5หอมหัวใหญ่ (Onion)มีสารฟลาโวนอยด์  ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6คะน้า (Chinese kale)มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง  ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง
7พริก (Chilli)มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด  ช่วยให้เจริญอาหาร  ขับเหงื่อ
8กระเจี๊ยบเขียว (Okra)ลดความดันโลหิต  บำรุงสมอง  ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
9ผักกระเฉด(Water mimosa)ดับพิษไข้  กากใยช่วยระบบขับของเสีย  เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร
10ตำลึง (Ivy  gourd)มีวิตามินเอสูง  ดีต่อดวงตา  เส้นใยจับไนเตรต  ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
11มะระ (Chinese bitter cucumber)มีแคลเซียม  ฟอสฟอรัส  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด
12ผักบุ้ง (Water  spinach)บรรเทาอาการร้อนใน  มีวิตามินเอบำรุงสายตา  ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
13ขึ้นฉ่าย (Celery)กลิ่นหอม  ช่วยเจริญอาหาร  มีวิตามินเอ  บี  และซี  บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
14เห็ด (Mushroom)แคลอรีน้อย  ไขมันต่ำ  มีวิตามินดีสูง  ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน
15บัวบก (Indian  pennywort)มีวิตามินบีสูง  ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย  บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ
16สะระแหน่ (Kitchen mint)กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น  ทำให้ความคิดแจ่มใส  แก้ปวดหัว
17ชะพลู (Cha-plu)รสชาติเผ็ดเล็กน้อย  แก้จุกเสียด  ขับเสมหะ  มีแคลเซียมสูง
18ชะอม (Cha-om)ช่วยลดความร้อนในร่างกาย  ขับลมในลำไส้  มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ
19หัวปลี (Banana  flower)รสฝาด  แก้ร้อนใน  กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม  มีกากใย  โปรตีน และวิตามินซีสูง
20กระเทียม (Garlic)ลดไขมันในเลือด  ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง
21โหระพา (Sweet  basil)น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก  ช่วยระบายลม  มีเบต้าแคโรทีน  แคลเซียม
22ขิง (Ginger)บรรเทาอาการหวัดเย็น  ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน  แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
23ข่า (Galangal)น้ำมันหอมระเหย  ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม  มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  และเชื้อรา
24กระชาย (Wild ginger)บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  บำรุงธาตุ  มีวิตามินเอและแคลเซียม
25ถั่วพู (Winged bean)ให้คุณค่าทางอาหารสูง  มีโปรตีน  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และสาร  ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว
26ดอกขจร (Cowslip  creeper)กระตุ้นให้รู้รสอาหาร  ให้พลังงานสูง  ประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน
27ถั่วฝักยาว (Long bean)มีเส้นใย  ช่วยลดคอเลสเตอรอล  มีวิตามินซี  ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก  บำรุงเลือด
28มะเขือเทศ (Tomato)มีวิตามินเอสูง  วิตามินซี  รสเปรี้ยว  ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย  และแก้อาการคอแห้ง
29กะหล่ำปลี (White cabbage)มีกลูโคซิโนเลท  เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง  และมีวิตามินซีสูง
30มะเขือพวง (Plate brush eggplant)ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด  มีแคลเซียม  และฟอสฟอรัส
31ผักชี (Chinese  paraley)ขับลม  บำรุงธาตุ  ช่วยย่อยอาหาร  มีน้ำมันหอมระเหย  แก้หวัด  มีวิตามินเอและซีสูง
32กุยช่าย (Flowering chives)มีกากใยช่วยระบายของเสีย  มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
33ผักกาดหัว (Chinese radish)แก้ไอ  ขับเสมหะ  เพิ่มภูมิต้านทางโรค  มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี
34กะเพรา (Holy basil)แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง  มีเบต้าแคโรทีนสูง  ป้องกันโรคมะเร็ง  และโรคหัวใจขาดเลือดได้
35แมงลัก (Hairy  basil)ช่วยย่อยอาหาร  ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ขับลม  ขับเหงื่อ
36ดอกแค (Sesbania)กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  มีวิตามินเอสูง  บำรุงสายตา

โทษของการไม่กินผัก



ภัยเงียบคุกคามเด็กไทย อัตราการบริโภคผัก-ผลไม้ดิ่งเหวติดต่อกันตั้งแต่ปี 2544 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายหลายชนิด ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขยืนยันมะเร็งคร่าชีวิตคนไทยเป ็นอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ปี 2545 แนะควรสร้างนิสัยการกินผักผลไม้เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพที่ดี
ข้อมูลล่าสุดจากการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 ประจำปี 2550 ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า 
โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยใน ปัจจุบัน เอาชนะอุบัติเหตุและโรคหัวใจที่เคยครองอันดับหนึ่งสาเหตุการตายมาหลายสิบปีแล้ว โดยมะเร็งลำไส้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ โดยที่คนไทยเราไม่ค่อยตระหนักถึงภัยของโรคนี้กันเท่า ไรนัก
นางอลิสรา วิจารณกรณ์ ผู้จัดการด้านโภชนาการและสุขภาพ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า

สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขระบุชัดว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึงปีละกว่า 50,000 ราย โดยที่มะเร็งลำไส้ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและเต้านม นอกจากนี้คนไทยยังเป็นโรคเบาหวานที่รู้ตัวแล้วถึงกว่า 3 ล้านราย และกว่า 10 ล้านรายมีอัตราความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีปริมาณน้ำตาล ในเลือดสูงเกินกำหนด ภาวะเสี่ยงที่กำลังคุกคามชีวิตของคนไทยในขณะนี้ 85% เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การรับประทานอาหารไม่สมดุล รับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน น้ำตาล และเนื้อสัตว์มากเกินไป และบริโภคผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดอาการท้องผูก มีการคั่งค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ เยื่อบุลำไส้จึงสัมผัสกับสารก่อมะเร็งที่มักพบมากในกากอาหารจำพวกไขมันได้นานขึ้น

ที่สำคัญคือ สถานการณ์การบริโภคผักผลไม้ของคนไทยอยู่ในขั้นน่าเป็ นห่วงมาก

ปัจจุบันคนไทยรับประทานผักผลไม้เฉลี่ยวันละประมาณ 186 กรัมต่อวันเท่านั้น ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผักผลไม้วันละประมาณ 400 กรัม ซึ่งเท่ากับว่าคนไทยบริโภคผักผลไม้เพียงประมาณหนึ่งใ นสามของที่ควรจะได้รับเท่านั้น และจากสถิติที่ยูนิลีเวอร์เก็บย้อนหลังไปประมาณ 10 ปี พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยลดต่ำลงอย่างมาก

นอกจากนี้ยูนิลีเวอร์ยังได้ศึกษาแนวโน้มการบริโภคอาหารใน 4 ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเก็บสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่าแนวโน้มการบริโภคอาหารในทั้ง 4 ประเทศมีความคล้ายคลึงกัน คือ รับประทานผักผลไม้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา แต่รับประทานแป้ง น้ำตาล ไขมันและเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คนไทยยังหันไปรับประทานพืชมีหัวที่เป็นแป้งมากขึ้น เช่น มันฝรั่ง จึงทำให้ปริมาณผักใบเขียว, ผลไม้ที่รับประทานในแต่ละวันลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ด้านนางกฤษฎี โพธิทัต นักกำหนดอาหารชั้นนำของประเทศไทยเปิดเผยว่า

ในส่วนของเยาวชนไทยนั้น การรับประทานผักผลไม้น้อยทำให้สุขภาพของเด็กแย่ลง ที่เห็นชัดเจนคือเป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อง่าย เจ็บคอ ทำให้ต้องกินยา เสียเงินค่ารักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็น บางครอบครัวต้องพาลูกเข้าๆ ออกๆ ในโรงพยาบาลปีละหลายครั้ง เสียค่าหมอเป็นเรือนพันเรือนหมื่นต่อปี อาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับเด็กๆ ได้ทุกวันโดยการกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับวิตามิน เกลือแร่จากผักผลไม้แล้ว เขายังจะได้รับเส้นใยอาหารที่ช่วยจับไขมันและสารพิษต ่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงเช่น มะเร็ง ออกไปจากร่างกาย และช่วยให้การขับถ่ายดี ไม่เป็นโรคท้องผูก

"สาเหตุเล็กๆ จากการรับประทานอาหารไม่สมดุลเพียงแค่นี้อาจนำไปสู่ภ ัยอันใหญ่หลวง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ ที่ทำลายชีวิตคนไทยเพิ่มขึ้นทุกขณะ, โรคอ้วนซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งในอดีตมักพบในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันเด็กอายุ 3 ขวบ ก็เป็นโรคร้ายแรงเหล่านี้ได้เช่นกัน"

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า 
การแก้ไขหรือป้องกันปัญหานี้สามารถทำได้ โดยเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต ้องตั้งแต่ยังเด็ก
"พ่อแม่ควรชักชวนให้ลูกกินผัก อย่าปล่อยให้พี่เลี้ยงทำอาหารง่ายๆ แต่ไม่ถูกหลักโภชนาการให้ลูกกิน พ่อแม่ควรใส่ใจ พิถีพิถันในการเลือกปรุงแต่งเมนูผักให้หลากหลาย และถูกใจเด็ก ๆ มากขึ้น เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมตั้งแต่การเลือกซื้อ การปรุง และมีเทคนิคที่ทำให้เด็กสนุกกับการรับประทานผัก รู้สึกว่าผักอร่อย ไม่ได้เหม็นหรือกินยากอย่างที่คิด และควรรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวอย่างน้อยวันล ะ 1 มื้อ จะช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีและรับประทานผักได้ง่ายข ึ้น เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ" 

ข้อมูลจาก https://www.l3nr.org/posts/454425

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ระบบเกษตรเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอื่น

ระบบเกษตรเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอื่น



นอกเหนือจากเกษตรอินทรีย์แล้ว ยังมีระบบการเกษตรอีกหลายระบบที่ได้มีการพัฒนาขึ้น เพื่อพยายามนำเสนอแนวทางใหม่ในการพัฒนาการเกษตร ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ระบบเกษตรที่เน้นความสำคัญด้านความปลอดภัยของผลผลิตในการบริโภค ระบบที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้กับการเผลิตและเกษตรกร และระบบที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และบางระบบ/แนวทางก็เป็นระบบที่พบเฉพาะแต่ในประเทศไทย (เช่น เกษตรปลอดสารพิษ) แต่บางระบบก็เป็นระบบที่มีในต่างประเทศด้วย

ตารางข้างล่างเปรียบเทียบความแตกต่างของระบบเกษตรแต่ละประเภท
ชื่อชื่ออื่นที่อาจเรียกกันเป้าหมายที่เน้นการตรวจรับรองมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์ออร์แกนิค, organic farming, ecological farming, biological farmingอนุรักษ์นิเวศการเกษตร/สิ่งแวดล้อมมีหลายมาตรฐาน และหลายหน่วยตรวจรับรอง
เกษตรธรรมชาติnatural farmingอนุรักษ์นิเวศการเกษตร/สิ่งแวดล้อมไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
วนเกษตรagroforestryอนุรักษ์นิเวศการเกษตร/สิ่งแวดล้อมไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
เพอร์มาคัลเชอร์เกษตรถาวรภาพ, เกษตรกรรมถาวร, permacultureอนุรักษ์นิเวศการเกษตร/สิ่งแวดล้อมไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
ไบโอไดนามิค
เกษตรชีวพลวัตร, Biodynamic
อนุรักษ์นิเวศการเกษตร/สิ่งแวดล้อมมีมาตรฐานและตรวจรับรองได้
เกษตรผสมผสานIntegrated farmingสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกรไม่มีการตรวจรับรอง
เกษตรทฤษฎีใหม่New Theory Agricutlrueสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกรไม่มีการตรวจรับรอง
เกษตรยั่งยืนSustainable agricultureสาร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกรไม่มีการตรวจรับรอง
เกษตรดีที่เหมาะสมGAP (Good Agricultural Practice)ความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตรมีการตรวจรับรอง
เกษตรปลอดภัยจากสารพิษเกษตรปลอดสารพิษความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตรมีการตรวจรับรอง
กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรปลอดสารเคมีความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตรไม่มีการตรวจรับรอง

เกษตรอินทรีย์

เป็นระบบเกษตรที่เน้นในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการสำคัญ 4 ด้าน คือ สุขภาพ นิเวศ ความเป็นธรรม และการดูแลเอาใจใส่ (heatlh, ecology, fair, and care)  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการเกษตรอินทรีย์ได้ใน "หลักการเกษตรอินทรีย์"
หน่วยงานที่ทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงาน เช่น

เกษตรธรรมชาติ

มีหลักแนวคิดที่อาศัยกระบวนการและกลไกธรรมชาติในการทำเกษตร โดยการพยายามเข้าไปจัดการฟาร์มแต่เท่าที่จำเป็นจริงๆ โดยการจัดการฟาร์มนั้นจะเป็นจุดสำคัญและในช่วงจังหวะเวลาที่เฉพาะ ซึ่งทำให้พืชและสัตว์มีสภาพที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถมีผลผลิตสำหรับเกษตรกรได้  ปรามาจารย์ที่เป็นผู้คิดค้นเกษตรธรรมชาติ คือ ท่านมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ (Masanobu Fukuoka) ชาวญี่ปุ่น
หลักแนวปฎิบัติของเกษตรธรรมชาติตามแนวทางของท่านฟูกูโอกะมีอยู่ 5 คือ ไม่ไถพรวน ไม่ใส่ปุ๋ย ไม่กำจัดวัชพืช ไม่กำจัดแมลงและศัตรูพืช และไม่ตัดแต่งกิ่งไม้
ระบบเกษตรธรรมชาติในแนวทางนี้ไม่สนับสนุนให้มีการใช้เครื่องจักรกลในฟาร์ม ถ้าจำเป็น ก็อาจเป็นเครื่องมือการเกษตรแบบง่ายๆ เพราะไม่ต้องการให้มีการแทรกแซงกระบวนการธรรมชาติในฟาร์ม  พื้นที่เพาะปลูกจะมีพืชและวัชพืชขึ้นคลุมดินอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการอนุรักษ์หน้าดินไว้  ระบบเกษตรธรรมชาติที่มีการประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้แก่ การทำนาเกษตรธรรมชาติ ที่เกษตรกรจะหว่านข้าวเปลือกและถั่วเขียวร่วมกัน และจึงคลุมฟางทับ ซึ่งถั่วเขียวจะงอกขึ้นมาก่อน เมื่อฝนเริ่มตก หลังจากนั้น ข้าวจะงอกขึ้นมาตาม เมื่อมีฝนมากขึ้น น้ำเริ่มขังในแปลงนา ถั่วเขียวก็จะตาย และถูกย่อยสลายให้เป็นปุ๋ยกับต้นข้าว  อีกแนวทางหนึ่งของเกษตรธรรมชาติก็คือ การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ที่จะปล่อยลูกเป็ดลงในแปลงนา หลังจากต้นข้าวเพิ่งเริ่มปักดำไม่นานนัก ซึ่งเป็ดจะช่วยกำจัดวัชพืช กำจัดแมลง และให้ปุ๋ยกับต้นข้าว
นอกจากแนวทางเกษตรธรรมชาติของท่านฟูโกโอกะแล้ว มีนักปรัชญาชาวญี่ปุ่นอีกท่านหนึ่ง คือ ท่านนโมกิจิ โอกะดะ (Mokichi Okada) ที่เสนอแนวทางการทำเกษตรที่คล้ายกัน แต่เน้นในเรื่องการใช้จุลินทรีย์แบบต่างๆ ในการเกษตร ซึ่งมีการแตกสายของการพัฒนาออกเป็นกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งได้คัดเลือกและพัฒนาจุลินทรีย์ดินสำหรับใช้ในการเกษตรขึ้นมา ที่เรียกกันว่า "EM หรือ Effective Microorganisms" ซึ่งได้มีการเผยแพร่แนวทางเกษตรธรรมชาตินี้ไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเกาหลี ซึ่งมีกลุ่มเกษตรธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก และได้พัฒนาเทคนิคปฏิบัติอีกหลายด้าน เช่น การทำน้ำหมักฮอร์โมนจากผักและผลไม้ หมูหลุม ฯลฯ
ในประเทศไทย มีทั้งกลุ่มที่ทำเกษตรกรรมธรรมชาติตามแนวทางของท่านฟูโกโอกะและท่านโอกะดะ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแนวทางที่ 2 เพราะค่อนข้างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ แต่บางกลุ่มก็ได้ทำการประยุกต์ โดยทำการคัดเลือกและพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในประเทศไทยขึ้นมาเอง
หน่วยงานในประเทศไทยที่ส่งเสริมระบบเกษตรธรรมชาติมีหลายหน่วยงานมาก เช่น

วนเกษตร

เป็นแนวทางการจัดการที่ดินและการเกษตรที่เน้นการปลูกไม้ยืนต้นที่ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้เป็นหลัก (woody perennials) ร่วมกับการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารหรือประโยชน์อื่น และ/หรือการสัตว์เลี้ยง ในลักษณะผสมผสานกันเป็นนิเวศการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติป่า โดยลักษณะเด่นของการจัดการฟาร์มแบบวนเกษตรที่แตกต่างจากระบบเกษตรแบบอื่นคือ ตั้งใจ (intentional) เข้มข้น (intensive) มีปฏิสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน (interactive) และ ผสมผสานหลากหลาย (integrated)
[ตั้งใจ] เลือกปลูกไม้ยืนต้น พืช และเลี้่ยงสัตว์ ที่ผสมผสานกันแบบองค์รวม โดยการตั้งใจออกแบบและจัดการสวนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ได้เน้นเฉพาะการดูแลพืช/สัตว์อย่างใดอย่างหนึี่งเป็นหลัก
มีการจัดการแบบ [เข้มข้น] ทั้งการเพาะปลูก การใส่ปุ๋ยบำรุงดิน และการให้น้ำกับต้นไม้ เพิ่ือให้พืชที่ปลูก/สัตว์ที่เลี้ยงสามารถให้ผลผลิตได้ดี
วนเกษตรจะจัดการฟาร์มเพื่อให้ต้นไม้ พืช และสัตว์ มี [ปฏิสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน] ทั้งทางชีวภาพและทางกายภาพ เพื่อที่จะให้สวนวนเกษตรมีผลผลิตต่างๆ ในเวลาเดียวกัน และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการอนุรักษ์นิเวศธรรมชาติ ที่ให้บริการนิเวศ (ecological services) เช่น ทำให้น้ำสะอาด เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
มีการ [ผสมผสาน] ของต้นไม้ พืช และสัตว์ เข้ามาร่วมกัน ซึ่งอาจจะเป็นการปลูกพืชหลายอย่างในแนวระนาบ (พืชร่วม พืชแซม) หรือ ในแนวดิ่ง (พืชหลากหลายชั้นความสูง) ซึ่งทำให้สวนวนเกษตรสามารถมีผลผลิตที่สูง สร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
ในประเทศไทย มีหน่วยงานไม่กี่แห่งที่ส่งเสริมระบบวนเกษตร  หน่วยงานหลัก คือ มูลนิธิวนเกษตรเพื่อสังคม

เพอร์มาคัลเชอร์

มีบางคนแปลว่า เกษตรกรรมถาวร หรือ เกษตรถาวรภาพ  แต่ที่จริงแล้ว เพอร์มาคัลเชอร์ไม่ใช่ระบบเกษตร แต่เป็นระบบการออกแบบที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการออกแบบฟาร์มเกษตร แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้เพอร์มาคัลเชอร์ในการออกแบบเมือง หรืออื่นๆ ได้  หลักการพื้นฐานในการออกแบบของเพอร์มาคัลเชอร์ประกอบด้วย 8  เรื่อง คือ
(1) ที่ตั้งแบบสัมพันธภาพ
(2) แต่ละองค์ประกอบมีหลายบทบาทหน้าที่
(3) หน้าที่สำคัญต้องมีหลายองค์ประกอบร่วมกัน
(4) ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
(6) นำพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
(7) ใช้พื้นที่อย่างเข้มข้น โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายร่วมกัน
(8) ใช้ชายขอบและลวดลายธรรมชาติ

เกษตรทฤษฎีใหม่

ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหลักปรัชญานี้ประกอบด้วย 3 หลักการ และ 2 เงื่อนไข คือ หลักความพอประมาณ (Moderation) หลักความมีเหตุผล (Reasonableness) และหลักการมีภูมิคุ้มกัน (Immunity) ส่วน 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
ส่วนเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนของการพัฒนาแบ่งออกได้ 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
เริ่มต้นจากการมุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร โดยการใช้แนวทางการจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็กในฟาร์ม เช่น การขุดบ่อ ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องน้ำ เกิดหลักประกันในการผลิตอาหารเพื่อการยังชีพเบื้องต้น  ส่วนที่ดินการเกษตรอื่น จะใช้ในการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการพื้นฐานอื่นของครอบครัว ซึ่งอาจมีการขายผลผลิตส่วนเกินเพื่อเป็นรายได้ สำหรับใช้จ่ายในการยังชีพที่จำเป็น ที่ไม่สามารถผลิตเองได้  การเกษตรทฤษฎีใหม่ในขั้นนี้  จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับครอบครัว  แต่เกษตรกรส่วนใหญ่อาจไม่สามารถเริ่มต้นในขั้นตอนแรกนี้ได้ และอาจจำเป็นที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องจัดความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนเกษตรกร
ในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นนี้ มีแนวทางสำคัญในการการจัดสรรที่ดินการเกษตรและที่อยู่อาศัย โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ  พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ (กรมพัฒนาที่ดิน 2553)
ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง
เมื่อเกษตรรได้เริ่มต้นปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นแล้ว มีความพอเพียง และความมั่นคงในขั้นพื้นฐานระดับหนึ่งแล้ว ในขั้นตอนต่อมาจึงเป็นเรื่องของการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบต่าง เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือวิสาหกิจ  ซึ่งการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มโดยรวม บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือกันตามกำลัง และความสามารถของตน ซึ่งจะทำให้ชุมชนโดยรวมเกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติด้วย
ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
กลุ่มเกษตรกรที่ได้ดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ในขั้นกลาง จนประสบความสำเร็จเบื้องต้น อาจก้าวเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า โดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในระดับประเทศ เพื่อยกระดับการทำธุรกิจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เช่น การทำความร่วมมือกับธนาคาร เพื่อนำเงินมาลงทุนในธุรกิจ หรือการทำข้อตกลงกับบริษัท เพื่อขายผลผลิตให้
ในประเทศไทย มีหน่วยงานจำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ที่ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่  แต่หน่วยงานประสานงานหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ มูลนิธิชัยพัฒนา
ข้อมูลจาก green net                    http://www.greennet.or.th

แนวทางเกษตรอินทรีย์ (The Organic)

แนวทางเกษตรอินทรีย์



แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การทำการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิต ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตเฉพาะพืชที่ปลูก ซึ่งเป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะให้ความสนใจเฉพาะแต่ผลผลิตของพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำ การผลิต
จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี
เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการ ทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยว กับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการ แห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของ ตัวเองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและ เรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย
แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต เพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งใน ระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและ สังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Agriculture - CSA) หรือระบบอื่นๆ ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรอง ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด
จากแนวคิดหลักพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ ที่มุ่งเน้นการทำการเกษตรที่อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติของเกษตรอินทรีย์จึงเน้นการผลิตความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ โดยการประยุกต์ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสำหรับการทำเกษตร ที่สำคัญได้แก่ การหมุนเวียนธาตุอาหาร, การสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน, ความสัมพันธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย, การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร,

การหมุนเวียนธาตุอาหาร

ในป่าธรรมชาติ ต้นไม้พืชพรรณได้รับธาตุอาหารจากดินและอากาศ โดยธาตุอาหารในดินจะถูกดูดซึมผ่านทางราก ส่วนธาตุอาหารในอากาศพืชจะได้รับจากการหายใจทางใบ เมื่อพืชได้รับแสงก็จะสังเคราะห์ธาตุอาหารเหล่านี้มาเป็นสารอาหารต่างๆ ซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโต และเพิ่มชีวมวล (biomass) ของพืชเอง ไม่ว่าจะเป็นลำต้นที่ขยายใหญ่ขึ้น กิ่งก้านและใบเพิ่มขึ้น ฯลฯ เมื่อใบหรือกิ่งแก่ลงก็จะร่วงหล่นลงดิน หรือบางส่วนของพืชอาจถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะ และเมื่อสัตว์ถ่ายมูลออกมา มูลเหล่านั้นก็กลับคืนลงสู่ดิน ทั้งชีวมวลจากพืชและมูลสัตว์ที่กินพืช (ที่เราเรียก “อินทรีย์วัตถุ”) เมื่อกลับคืนสู่ดินก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา ซึ่งรากพืชจะดูดซึมกลับไปเป็นธาตุอาหารอีกครั้งหนึ่ง วัฏจักรหรือวงจรธาตุอาหารที่หมุนเวียนไปอย่างสมดุลนี้เอง ที่ทำให้พืชในป่าสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นเวลาหลายร้อยหลายพัน ปี เพราะธาตุอาหารทั้งหมดหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
แน่นอนว่าการทำเกษตรไม่ว่าจะเพื่อยังชีพ หรือเพื่อจำหน่ายก็ตาม ธาตุอาหารส่วนหนึ่งย่อมสูญหายไปจากระบบนิเวศการเกษตรจากการบริโภคผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการหาธาตุอาหารจากภายนอก ฟาร์มมาชดเชยส่วนที่สูญเสียไป แต่ปัญหาการสูญเสียธาตุอาหารในฟาร์มที่สำคัญกว่าก็คือ การสูญเสียธาตุอาหารในดินที่เกิดขึ้นจากการชะล้างหน้าดิน, การกัดเซาะของลม ฝน และน้ำ, ธาตุอาหารที่ไหลลงดินลึกชั้นล่าง รวมถึงที่สูญเสียไปทางอากาศ ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่ เกิดจากระบบการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป
แนวทางการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติ ด้วยการใช้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของอินทรีย์วัตถุที่สามารถย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ คือ การใช้ปุ๋ยหมัก, การคลุมดินด้วยอินทรีย์วัตถุ, การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน

"ความอุดมสมบูรณ์ของดิน” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ผิวดินในระบบนิเวศป่าธรรมชาติจะมีเศษซากพืชและใบไม้ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอินทรีย์วัตถุที่คลุมดินนี้ นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เพราะอินทรีย์วัตถุเหล่านี้เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่อยู่ใน ดิน ดังนั้นการมีอินทรีย์วัตถุคลุมหน้าดินจึงทำให้ “ดินมีชีวิต” ขึ้น ซึ่งเมื่ออินทรีย์วัตถุเหล่านี้ย่อยสลายผุพัง (โดยการทำงานของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน) ก็จะทำให้เกิดฮิวมัสซึ่งทำให้ดินร่วนซุย และสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ดินจึงมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาและมีธาตุอาหารเพียงพอให้กับพืชพรรณในบริเวณ ดังกล่าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
ดังนั้น หลักการของการทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องหาอินทรีย์วัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ หรือแม้แต่พืชขนาดเล็ก (เช่น พืชที่ใช้ปลูกคลุมดิน) ซึ่งอินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน (เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) เป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดินมีความสมบูรณ์พืชที่ปลูกก็แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตสูง

ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ

นิเวศป่าธรรมชาติมีพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย สิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีทั้งที่พึ่งพาอาศัยกัน แข่งขันกัน หรือเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง แต่ต่างก็สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ พืชพรรณต่างๆ แม้จะมีแมลงหรือศัตรูที่กินพืชนั้นเป็นอาหารบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำลายพืชนั้นจนเสียหายไปทั้งหมด ทั้งนี้เพราะพืชเองก็มีความสามารถที่จะฟื้นฟูตัวเองจากการทำลายของศัตรูพืช ได้ และนอกจากนี้เมื่อมีแมลงศัตรูพืชเกิดขึ้นมาก ก็จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติมาควบคุมประชากรของศัตรูพืช ให้ลดลงอยู่ในภาวะที่สมดุล
จากหลักการนี้เอง การทำเกษตรอินทรีย์จะต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชร่วมหลายชนิดในเวลาเดียวกัน หรือเหลื่อมเวลากัน ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้การทำเกษตรที่หลากหลาย (ซึ่งมักนิยมเรียกกันว่า “เกษตรผสมผสาน”) นับเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และยังเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดอีกด้วย นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถ แสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่ง เพราะการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะทำลายศัตรูธรรมชาติในสัดส่วนที่มากกว่า ศัตรูพืช ทำให้ศัตรูพืชกลับยิ่งระบาดรุนแรงมากขึ้นอีก

การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร

แนวทางสำคัญของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ทั้งนี้เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทำลายสมดุลของนิเวศการ เกษตรและส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา และสารเคมีกำจัดวัชพืช) มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ในฟาร์มทั้งที่อยู่บนผิวดินและใต้ดิน เช่น สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ในกลไกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีวิต เช่น การผสมเกสร และการช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่มีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่เกษตรกร เพาะปลูก หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้สร้างผลเสียกับพืชที่ปลูกแต่อย่างใด แต่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นมีผลทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ในขณะที่โรคและแมลงศัตรูพืชมักจะมีความสามารถพิเศษในการพัฒนาภูมิต้านทานต่อ สารเคมี ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แมลงที่เป็นประโยชน์จึงถูกทำลายได้โดยง่าย ในขณะที่แมลงศัตรูพืชสามารถอยู่รอดได้โดยไม่เป็นอันตราย แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงห้ามไม่ให้ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมี สังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก
นอกเหนือจากการอนุรักษ์แล้ว แนวทางเกษตรอินทรีย์ยังเน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของ ระบบนิเวศด้วย ซึ่งหลักการนี้ทำให้เกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรปลอดสาร เคมีที่รู้จักกันในประเทศไทย แนวทางหลักในการฟื้นฟูนิเวศการเกษตรก็คือ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ และการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับระบบเกษตรอินทรีย์ ดินถือว่าเป็นกุญแจสำคัญ เพราะการปรับปรุงบำรุงดินทำให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรง มีความต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง อันจะทำให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืนกว่าการเพาะปลูกด้วยระบบเกษตรเคมี อีกด้วย นอกจากนี้ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ยังมีรสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน
นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินแล้ว การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาก็เป็นสิ่งจำเป็น นับเป็นเรื่องสำคัญต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศการเกษตร เพราะการที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกื้อกูล และสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตทางธรรมชาติที่เกื้อหนุนต่อการทำ เกษตรอินทรีย์อีกต่อหนึ่ง วิธีการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การปลูกพืชร่วม, พืชแซม, พืชหมุนเวียน, ไม้ยืนต้น หรือการฟื้นฟูแหล่งนิเวศธรรมชาติในไร่นาหรือบริเวณใกล้เคียง

การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร

เกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญาแนวคิดที่ว่า การเกษตรที่ยั่งยืนต้องเป็นการเกษตรที่เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ ไม่ใช่การเกษตรที่ฝืนวิถีธรรมชาติ ดังนั้น การทำเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะธรรมชาติ หรือการพยายามดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติและปรับระบบการทำเกษตรให้เข้ากับวิถีแห่ง ธรรมชาติ
กลไกในธรรมชาติที่สำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน วงจรการหมุนเวียนของน้ำ, พลวัตของภูมิอากาศและแสงอาทิตย์ รวมทั้งการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพา และห่วงโซ่อาหาร
ตามที่ต่างๆ ทั่วโลกย่อมมีระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของ ท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่ การหมั่นสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์-สังเคราะห์ และทำการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรแต่ละรายจะได้ใช้ประโยชน์จาก กลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่นอย่างเต็มที่

การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต

เกษตรอินทรีย์มีแนวทางที่มุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัย การผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ ด้วยตนเองในฟาร์มให้ได้มากที่สุด แต่ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตได้เอง (เช่น มีพื้นที่การผลิตไม่พอเพียง หรือต้องมีการลงทุนสูงสำหรับการผลิตปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต้องใช้) เกษตรกรก็สามารถซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ควรเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น
แนวทางนี้เป็นไปตามหลักการสร้างสมดุลของวงจรธาตุอาหารที่ กระตุ้นให้เกษตรกรพยายามจัดสมดุลของวงจรธาตุอาหารในระบบที่เล็กที่สุด (ซึ่งก็คือในฟาร์มของเกษตรกร) และมีความสอดคล้องกับนิเวศของท้องถิ่น อันจะช่วยสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของระบบการผลิตในระยะยาว นอกจากนี้การเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นยังเป็นการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขนย้ายปัจจัยการผลิตเป็นระยะทางไกลๆ
การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตยังมีนัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ กล่าวคือ เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิคการผลิต แต่เป็นวิถีชีวิตและขบวนการทางสังคม จากประสบการณ์ของการพัฒนาระบบเกษตรเคมีที่ผ่านมา เกษตรกรสูญเสียการเข้าถึงและการควบคุมปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตในเกือบ ทุกขั้นตอน จำเป็นต้องพึ่งพิงองค์กรภาครัฐและธุรกิจเอกชนในการจัดหาปัจจัยการผลิตและ เทคโนโลยีการผลิตเกือบทุกด้าน จนเกษตรกรเองแทบไม่ต่างไปจากแรงงานรับจ้างในฟาร์มที่ทำงานในที่ดินของตนเอง การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอิสระของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้าอีกด้วย
ข้อมูลจาก green net    http://www.greennet.or.th/

เกษตรอินทรีย์ (Organic)

เกษตรอินทรีย์



แม้ว่าจะมีความพยายามมากมายในการให้คำ จำกัดความว่า เกษตรอินทรีย์หมายถึงอะไร แต่คำนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดเห็นจะเป็นคำนิยามของ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ ที่มีสมาชิกกว้างขวางที่สุดในโลก สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติได้สรุปความหมายเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า คือ

“Organic agriculture is a production system that sustains the health of soils, ecosystems and people. It relies on ecological processes, biodiversity and cycles adapted to local conditions, rather than the use of inputs with adverse effects. Organic agriculture combines tradition, innovation and science to benefit the shared environment and promote fair relationships and a good quality of life for all involved.”
“ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับ ความยั่งยืนของสุขภาพดิน ระบบนิเวศ และผู้คน เกษตรอินทรีย์พึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แทนที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบทางลบ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานองค์ความรู้พื้นบ้าน นวัตกรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นะรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง”
มติที่ประชุมใหญ่ IFOAM มิถุนายน 2551 อิตาลี
นัยของเกษตรอินทรีย์ตามนิยามของสหพันธ์ เกษตรอินทรีย์นานาชาติมองเกษตรอินทรีย์ในฐานะของการเกษตรแบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยแยกออกจากความ ยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรและสังคมโดยรวม

ข้อมูลจาก green net        http://www.greennet.or.th/